การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเว็บเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพสถานศึกษา ในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดมหาสารคาม
THE DEVELOPMENT OF WEB-BASED INSTRUCTION ON COMPUTER BY USING DAVIES' PRACTICAL SKILLS TO ENHANCE COMPETENCY IN COMPUTER PROGRAMING OF VOCATIONAL CERTIFICATE STUDENT IN PROVINCIAL VOCATIONAL EDUCATION MAHASARAKHAM
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเว็บ โดยใช้ทักษะปฏิบัติของเดวีส์ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2)เพื่อเปรียบเทียบความสามารถพื้นฐานในการเขียนโปรแกรมของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเว็บ โดยใช้ทักษะปฏิบัติของเดวีส์ 3)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเว็บ โดยใช้ทักษะปฏิบัติของเดวีส์ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น เครื่องมือในการวิจัย คือ 1)แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาพื้นฐานการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 2)บทเรียนคอมพิวเตอร์บนเว็บ โดยใช้ทักษะปฏิบัติของเดวีส์ ด้วยโปรแกรม Google Site รายวิชาพื้นฐานการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จำนวน 2 หน่วยการเรียนรู้ 3)แบบทดสอบความสามารถพื้นฐานในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ จำนวน 1 ชุด 40 ข้อ 4)แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเว็บ โดยใช้ทักษะปฏิบัติของเดวีส์กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1/1 ภาควิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคมหาสารคาม จำนวน 1 ห้อง จำนวน 17 คน โดยใช้เทคนิคการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)
ผลการวิจัยพบว่า 1. บทเรียนคอมพิวเตอร์บนเว็บ โดยใช้ทักษะปฏิบัติของเดวีส์ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.39/84.41 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 2. ผลการเปรียบเทียบความสามารถพื้นฐานในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพภาหลังจากการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเว็บ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยหลังเรียน 33.76 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.67 คิดเป็นร้อยละ 84.41 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเว็บ โดยใช้ทักษะปฏิบัติของเดวีส์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.82 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.39อยู่ในระดับมากที่สุด
References
จิราภรณ์ กรอกกระโทก. (2546). การศึกษาคุณลักษณะของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเว็บเรื่องการคำนวณและการสร้างกราฟ ในรายวิชาตารางทำงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. มหาสารคาม : สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ทิศนา แขมมณี. (2556). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิตยา กาญจนวรรณ. (2536). เอกสารการสอนการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
บุญญานี เพชรสีเงิน. (2560). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ผ่านเว็บด้วย Google Site รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3.นครศรีธรรมราช : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
บุญโฮม ปะโกติโต. (2549). การพัฒนาและหาประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบน เครือข่ายอินเตอร์เน็ตเรื่องการสร้างและเชื่อมโยงเว็บเพ็จแบบเฟรม. กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ปาณิสรา สิงหพงษ์. (2560). การจัดการเรียนรู้ผ่านบทเรียนออนไลน์ด้วยโปรแกรม Google site เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาโครงงานคอมพิวเตอร์ (ง31231) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสายปัญญารังสิต. ปทุมธานี : โรงเรียนสายปัญญารังสิต.
มะลิ จรรยากรณ์. (2563). การพัฒนาห้องเรียนดิจิทัลด้วย Google Site รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการจัดการอาชีพ รหัสวิชา 30001-2001. ศรีสะเกษ : สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยการอาชีพศรีสะเกษ.
วิทยาลัยเทคนิคมหาสารคาม. (2560-2562). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ด้านอาชีวศึกษา(Vocational Education Test : V-NET). มหาสารคาม : ฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยเทคนิคมหาสารคาม.
อาคม เนืองเนตร. (2546). การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่าย วิชาระบบสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เรื่องภาษา HTML ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Davie. (1971). That's Interesting!: Towards a Phenomenology of Sociology and a Sociology of Phenomenology. Philosophy of the Social Sciences. 1(1971). 309-344.