การพัฒนาแนวการสร้างเสริมความเข้มแข็งของเครือข่ายความร่วมมือของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3
THE GUIDELINE DEVELOPMENT FOR EMPOWERING COOPERATIVE NETWORKS IN SMALL SCHOOLS UNDER THE OFFICE OF MAHASARAKHAM PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA 3
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการสร้างเสริมความเข้มแข็งของเครือข่ายความร่วมมือของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคามเขต 3 การดำเนินการวิจัยมี 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการสร้างเสริมความเข้มแข็งของเครือข่ายความร่วมมือของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคามเขต 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่น ผู้บริหาร และครู โรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคามเขต 3 จำนวน 152 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิตที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีจัดเรียงลำดับความต้องการจำเป็น ระยะที่ 2 การพัฒนาแนวทางการสร้างเสริมความเข้มแข็งของเครือข่ายความร่วมมือของโรงเรียนขนาดเล็ก เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีสัมภาษณ์และสนทนากลุ่มเป็นเครื่องมือ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของแนวทางการสร้างเสริมความเข้มแข็งของเครือข่ายความร่วมมือของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมของสมาชิกเครือข่าย ด้านการตั้งเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ ด้านภาวะผู้นำของกรรมการเครือข่ายและ ด้านสมาชิกเครือข่าย และ 2. การสร้างเสริมความเข้มแข็งของเครือข่ายความร่วมมือของโรงเรียนขนาดเล็ก มี 4 ด้าน 39 แนวทาง ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมของสมาชิกเครือข่าย มี 12 แนวทาง ด้านการตั้งเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ มี 13 แนวทาง ด้านภาวะผู้นำของกรรมการเครือข่าย มี 8 แนวทางและ ด้านสมาชิกเครือข่าย มี 6 แนวทาง และผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางอยู่ในระดับมากที่สุด
References
นิตยา เทพอรุณรัตน์. (2557). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนมาตรฐานสากลในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พัชรินทร์ จันทาพูน. (2555). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิสิฐ เทพไกรวัล. (2554). การพัฒนารูปแบบเครือข่ายความร่วมมือเพื่อคุณภาพการจัดการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วิสิทธิ์ศักดิ์ ชัยเกิด. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการเครือข่ายความร่วมมือเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ศมากร พาน้อย. (2557). การนำเสนอกลยุทธ์การบริหารเครือข่ายโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). แผนยุทธศาสตร์พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก พ.ศ. 2562-2565. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุวรรณ์ กดคำ. (2549). ความเข้มแข็งของเครือข่ายโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อนุนาถชื่นจิตร์. (2557). การพัฒนารูปแบบการบริหารเครือข่ายการประกันคุณภาพภายในสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.