สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของบุคลากรในโรงเรียนสอนคนตาบอดในประเทศไทย
COMPETENCY OF EDUCATIONAL INSTITUTION ADMINISTRATORS BASED ON THE PERCEPTION OF PERSONNEL IN SCHOOLS PROVIDING TEACHING FOR THE BLIND IN THAILAND
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของบุคลากรในโรงเรียนสอนคนตาบอดในประเทศไทย 2) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของบุคลากรในโรงเรียนสอนคนตาบอดในประเทศไทย โดยจำแนกตามระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหาร ครู และพนักงานโรงเรียน จำนวน 357 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทตสอบสมมุติฐานการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว เมื่อพบความแตกต่างรายคู่
ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของบุคลากรในโรงเรียนสอนคนตาบอดในประเทศไทย ทุกด้านมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด 2. จากผลการเปรียบเทียบสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของบุคลากรในโรงเรียนสอนคนตาบอดในประเทศไทย จำแนกตามระดับการศึกษาและประสบการณ์การทำงานในภาพรวม ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ด้านการบริการที่ดี ด้านการสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ ด้านการยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมและจริยธรรม และด้านการทำงานเป็นทีม ในภาพรวมไม่แตกต่างกัน และประสบการณ์ทำงานมีความแตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านการทำงานเป็นทีม มีความแตกต่างกัน
References
กัญญ์ณพัชร์ เพิ่มพูน. (2557). สมรรถนะการบริหาร งานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ภาคใต้. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ขจรศักดิ์ โฮมราช. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.
เนียม ผะกาแก้ว. (2554). สมรรถนะหลักทางการบริหารของผู้บริหาร สถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
บวร เทศารินทร์. (2559). นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาล. สืบค้นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2564. จาก http://www.drborworn.com/articledetail.asp?id=13473
เบญจพร วาทีกานท์. (2559). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ปาริฉัตร ช่อชิต. (2559). สมรรถนะผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ภคินี มีวานา. (2559). สมรรถนะผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง ตามมาตรฐานวิชาชีพของคุรุสภา. สืบค้นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2564. จาก http://www.edu-journal.ru.ac.th/AbstractPdf/2560-2-1_1510060411_is-bkk7-sec2-0022.pdf
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2553). คู่มือการปฏิบัติงานของอนุกรรมการใน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา และ อ.ก.ค.ศ. ที่ ก.ค.ศ. ตั้งในส่วนราชการ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุจินต์ สว่างศรี. (2550). การส่งเสริมอาชีพคนพิการทางสติปัญญาของ โรงเรียนลพบุรีปัญญานุกูล จังหวัดลพบุรี. กรุงเทพฯ : โครงการวิจัยตามแผนงานสร้างเสริมสุขภาพคนพิการในสังคมไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
สุญาดา ศิริบูรพงศา. (2553). สมรรถนะของผู้บริหารและองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาในเขตพื้นที่รับผิดชอบองสำนักบริหารยุทธศาสตร์และบูรณาการการศึกษาที่ 6. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.