ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1
THE RELATIONSHIP BETWEEN THE ACADEMIC ADMINISTRATION AND THE EFFECTIVENESS OF SCHOOL UNDER THE ROI-ET PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 1
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการและประสิทธิผลของสถานศึกษา 2) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับประสิทธิผลของสถานศึกษา 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน 341 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ในการวิจัยครั้งนี้ใช้การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการประสานงานของงานวิชาการ (X5) รองลงมา ด้านการวางแผนงานวิชาการ (X1) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ด้านการจัดคนเข้าทำงานวิชาการ (X3) 2. ระดับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1โดยรวมอยู่ในระดับมากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านความสามารถในการพัฒนาสถานศึกษา (Y4) รองลงมา ด้านความสามารถในการแก้ปัญหาภายในสถานศึกษา (Y3) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ (Y2)3.ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับประสิทธิผลของสถานศึกษา ในภาพรวม (r=0.85) และรายด้านมีความสัมพันธ์กันในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และคู่ที่มีความสัมพันธ์กันในระดับสูงที่สุด (r=0.84) คือ การบริหารงานวิชาการ ด้านงบประมาณงานวิชาการ(X7) กับประสิทธิผลของสถานศึกษา ด้านความสามารถทางวิชาการ (Y1) คู่ที่มีความสัมพันธ์รองลงมา (r=0.83) คือการบริหารงานวิชาการด้านการรายงานของงานวิชาการ (X6) กับประสิทธิผลของสถานศึกษา ด้านความสามารถในการแก้ปัญหาภายในสถานศึกษา (Y3) และที่มีความสัมพันธ์กันในระดับต่ำที่สุด (r=0.55) คือ การบริหารงานวิชาการด้านการอำนวยการ/สั่งการในงานวิชาการ (X4) กับประสิทธิผลของสถานศึกษา ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์(Y2)มีความสัมพันธ์กันในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ข้อเสนอแนะประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 พบว่า สถานศึกษาควรพัฒนาหลักสูตร สื่อการเรียนการสอนรวมทั้งกิจกรรมการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง จะทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนได้รับการพัฒนาให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้นด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถให้คำปรึกษาแนวทางการแก้ปัญหาในการบริหารงานวิชาการกับคณะครูและบุคลากรภายในสถานศึกษาได้ โรงเรียนควรมีการสำรวจและรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน เพื่อจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินให้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์แผนปฏิบัติงานราชการประจำปีเพื่อให้มีการใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปตามความจำเป็นและความต้องการของโรงเรียนอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
References
ชนิกา บรรจงปรุ, สุรินทร์ ภูสิงห์. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ. 7(25). 293-301.
ชูศรี ถนอมกิจ. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยบูรพา.
รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2553). การบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 4. สงขลา : นำศิลป์โฆษณา.
วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2549). การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นตรงของประสิทธิผลภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบรหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1. (2564). รายงานประจำปี 2564. ร้อยเอ็ด : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1.
เสกสันต์ รอดย้อย และพรเทพ รู้แผน. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า. 4(3). 25-32.
Mott, P.E.. (1972). The Characteristic of Effective Organization. New York : Harper and Row.