ภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น
THE 21st CENTURY LEADERSHIP OF SCHOOL ADMINISTRATORS UNDER KHONKAEN PROVINCIAL ADMINISTRATION
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่นและ 2)เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ ผู้บริหารและครูสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น จำนวน 284 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบตอบสนองคู่ (Dual response format) ชนิด 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้เทคนิค Modified Priority Needs Index (PNImodified) ในการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ ของคุณลักษณะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น โดยภาพรวม สภาพปัจจุบัน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำในยุคศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น โดยภาพรวม พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนมีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำในยุคศตวรรษที่ 21 ดังต่อไปนี้ ลำดับที่ 1 ด้านด้านการใช้เทคโนโลยี/ดิจิทัลและการสื่อสาร ลำดับที่ 2 ด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์/นวัตกรรม ลำดับที่ 3 ด้านการมีวิสัยทัศน์ ลำดับที่ 4 ด้านความร่วมมือ ลำดับที่ 5 ด้านการเสริมพลังอำนาจ ลำดับที่ 6 ด้านทักษะสังคม และลำดับที่ 7 ด้านความมั่นใจและกล้าหาญ และมี 2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำในยุคศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น มี 7 ด้าน 17 แนวทาง
References
พิชญา ดำนิล. (2558). ภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารคณะศิลปศึกษาและห้องเรียน เครือข่ายสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา. 10(1). 240-248.
เพ็ญสุดา ฤทธิมนตรี, และวิเชียร รู้ยืนยง. (2562). กลยุทธิ์การเสริมสร้างทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษ ที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยของแก่น. 6(4). 83-96.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ (2559). การศึกษา 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21: ต้องก้าวให้พ้นกับดักของตะวันตก. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรมหาวิทยาลัย.
โยธิน นิลคช. (2561). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2565. จาก http://58.181.147.25/ojsjournal/index.php/miniconference/ article/view/1695
รัตนา เหลืองาม. (2562). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
ราชกิจจานุเบกษา. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก หน้า 25 ประกาศใช้ 19 สิงหาคม 2542.
ราชกิจจานุเบกษา. (2542). พระราชบัญญัติกาหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542. เล่มที่ 116 ตอนที่ 114 ก หน้า 48 ประกาศใช้ 11 พฤศจิกายน 2542.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีการสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี สฤษดิ์วงศ์.
วิโรจน์ สารรัตนะ, พระครูสุธีจริยวัฒน์, พระครูธรรมาภิสมัย, พระมหาศุภชัย สุภกิจโจ, พระณัฐวุฒิ สัพโส และวิทูล ทาชา. (2561). ภาวะผู้นำสำหรับศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 20(1). 261-271.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2555). แนวคิด ทฤษฎี และประเด็นเพื่อการบริหารทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : หจก.ทิพยวิสุทธิ์.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). กระบวนการทัศน์ใหม่ทางการศึกษากรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : ทิพยวิสุทธิ์.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2557). ภาวะผู้นำ: ทฤษฎีและนานาทัศนะร่วมสมัยปัจจุบัน. กรุงเทพฯ : ทิพย์วิสุทธิ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2565. จาก http://www.yst2.go.th/web/wp-content/uploads/2019/09/OBEC-policy-2563.pdf
สุรีรัตน์ โตเขียว. (2560). รูปแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในศตวรรษที่ 21.ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
เอื้อมพร หลินเจริญ และคณะ. (2552). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ทำให้คะแนนการทดสอบ o-net ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษา 6. พิษณุโลก : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.