การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด

PARTICIPATORY ADMINISTRATION OF SCHOOL BOARD COMMITTEE IN THE GENERAL EDUCATION OF PHRAPARIYATTIDHAMMA SCHOOL, ROI ET PROVINCE

  • Phra Lal Bahadur Rana Magar มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • พระครูชัยรัตนากร ดร. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Abstract

         บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา จำแนกตามระดับการศึกษา อายุ และอาชีพ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ คณะกรรมการสถานศึกษา รวมจำนวน 99 รูป/คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน5 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 และแบบสัมภาษณ์สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐานได้แก่ค่า t-test และ F-tests และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


           ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ ด้านการส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการ ด้านการประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ด้านการแนะแนวการศึกษา ด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา และด้านการวัดผล ประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน ตามลำดับ 2) การเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา จำแนกตามระดับการศึกษา และ อายุ ไม่แตกต่างกัน ส่วนจำแนกตามอาชีพด้านการพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) แนวทางการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด 1) ด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา โรงเรียนควรเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมี่ส่วนร่วมในการปรับปรุงหลักสูตรเพื่อให้ บรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่วางไว้ 2) ด้านการวัดผลประเมินผลและดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน


โรงเรียนควรประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน 3) ด้านการพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ โรงเรียนควรรับฟังความคิดเห็นและส่งเสริมให้คณะกรรมการสถานศึกษาทุกคนมีส่วนร่วมในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ 4) ด้านการแนะแนวการศึกษา โรงเรียนควรเปิดโอกาสให้คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองชุมชน ให้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อเป็นการแนะนำการศึกษาต่อ 5) ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา โรงเรียนควรเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง สร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการทางการศึกษา 6) ด้านการส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการ โรงเรียนควรส่งเสริมความเข้มแข็งให้กับชุมชน ในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนและสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการ
7) ด้านการประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น โรงเรียนควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับองค์กรต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการพัฒนางานวิชาการของสถานศึกษา

References

กระทรวงศึกษาธิการ.(2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช (พ.ศ.2542). แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ : คุรุสภา.

กองพุทธศาสนศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2557). คู่มือปฏิบัติงานโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

ธร สุนทรายุทธ. (2551). การบริหารจัดการเชิงปฏิรูป. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เนติพิมพ์.

พระมหาธีรานุวัฒน์ ธีรญาโณ. (2560). การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของบุคลากรสังกัดโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในจังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

มณฑาทิพย์ โกศลจิตร์. (2558). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารการศึกษากลุ่มโรงเรียนเครือข่ายไตรมิตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยบูรพา.

รุ่งฤดี แคล้วคลาด. (2557). สภาพ ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจกรบริหารและ การจัดการการศึกษา. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.
Published
2022-11-07
How to Cite
RANA MAGAR, Phra Lal Bahadur; ดร., พระครูชัยรัตนากร. การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 7, n. 2, p. 377-388, nov. 2022. ISSN 2730-2644. Available at: <http://202.29.86.169/index.php/jbpe/article/view/2318>. Date accessed: 26 nov. 2024.