แนวทางการพัฒนาครูด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1

GUIDELINE FOR THE DEVELOPMENT OF TEACHER OF THE RESEARCH COMPETENCY LEARNING DEVELOPMENT FOR PRIMARY SCHOOL TEACHER UNDER SURIN PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 1

  • ชาญยุทธ ชัยโคตร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • บุญชม ศรีสะอาด คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของครูด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 2) เพื่อพัฒนาแนวทางการพัฒนาครูด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์             เขต 1 การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาการพัฒนาครูด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 175 คน และหัวหน้าฝ่ายวิชาการ 175 คน รวมทั้งหมด 350 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีจัดเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น ระยะที่ 2 สร้างแนวทางการพัฒนาครูด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ เป็นวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา


           ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันการพัฒนาครูด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้ คือ การวิเคราะห์ข้อมูลวิจัย การวางแผนการวิจัย การนำเสนอและการนำผลการวิจัยไปใช้ การดำเนินการวิจัยตามระเบียบวิธีวิจัย การวิเคราะห์ปัญหาและกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัย สภาพที่พึงประสงค์พบว่าการพัฒนาครูด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การนำเสนอและการนำผลการวิจัยไปใช้ การวิเคราะห์ปัญหาและกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัย การดำเนินการวิจัยตามระเบียบวิธีวิจัย การวางแผนการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลวิจัย และความต้องการจำเป็นพบว่า สภาพปัจจุบันการพัฒนาครูด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 เรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปน้อย ได้แก่ การนำเสนอและการนำผลการวิจัยไปใช้ การวิเคราะห์ปัญหาและกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัย การดำเนินการวิจัยตามระเบียบวิธีวิจัย การวางแผนการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลวิจัยตามลำดับ 2. แนวทางการพัฒนาครูด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 ด้าน 20 แนวทาง ได้แก่ ด้านการวิเคราะห์ปัญหาและกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัย 3 แนวทาง การวางแผนการวิจัย 6 แนวทาง ด้านการดำเนินการวิจัยตามระเบียบวิธีวิจัย 4 แนวทาง ด้านการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล 4 แนวทาง ด้านการนำเสนอและการนำผลการวิจัยไปใช้ 3 แนวทาง โดยรวมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางอยู่ระดับมากที่สุด

References

กรมวิชาการ. (2560). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ : คุรุสภา.

ประเสริฐ เรือนนะการ และ ฐิติยา เรือนนะการ. (2561). การพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยของครูโรงเรียนกระบากวิทยาคาร จังหวัดมหาสารคาม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 12(3). 295-308.

ไมตรี บุญทศ. (2549). คู่มือการทำวิจัยในโรงเรียน. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1. (2564). ข้อมูลพื้นฐานสถานศึกษาในสังกัด สพป. สุรินทร์ เขต 1. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2565.จาก http://www.surinarea1. go.th/srn1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). พระมิ่งขวัญ. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักนิเทศและพัฒนามาตรฐานการศึกษา. (2545). การนิเทศเพื่อพัฒนาการวิจัยในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.

สุทิน วงษ์ประพันธ์ (2562). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2549). กลยุทธ์ทางเลือกเพื่อพัฒนาวัฒนธรรมและสมรรถภาพการวิจัยและประเมินของครูมืออาชีพในฐานะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการขับเคลื่อนสู่โรงเรียนฐานความรู้ : การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็นแบบสมบูรณ์. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2551). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสาวภาคย์ รศพล. (2562). แนวทางพัฒนาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนสังกัดเทศบาลจังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อดุลย์ สนั่นเอื้อเม็งไธสง. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน : การวิเคราะห์โมเดลเชิงเส้นตรงระดับ ลดหลั่น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อรนุช ศรีคำ และคณะ. (2561). ศึกษาการพัฒนาการวิจัยในชั้นเรียนให้บุคลากรทางการศึกษาในการพัฒนานักศึกษา ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 10(2). 157-169.

Suksunai, D., Wiratchai, N., & Khemmani, T. (2011). Effects of motivational psychology characteristic factors on teachers' classroom action research performance. Research in Higher Education Journal. 10(3). 1-12.
Published
2022-10-06
How to Cite
ชัยโคตร, ชาญยุทธ; ศรีสะอาด, บุญชม. แนวทางการพัฒนาครูด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 7, n. 2, p. 434-448, oct. 2022. ISSN 2730-2644. Available at: <http://202.29.86.169/index.php/jbpe/article/view/2324>. Date accessed: 26 nov. 2024.