การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา
THE DEVELOPMENT GUIDELINE OF STANDARD CRITERIA OF CHILD DEVELOPMENT CENTERS UNDER THE LOCAL GOVERNMENT ORGANIZATION, NAKHON RATCHASIMA PROVINCE
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ การดำเนินของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครราชสีมา 2)เพื่อพัฒนาแนวทางการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครราชสีมา การดำเนินการวิจัยมี 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ การดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารท้องถิ่น ผู้อำนวยการกองการศึกษา นักวิชาการศึกษาและครูหรือผู้ดูแลเด็ก จำนวน 128 คน จากประชาการจำนวน 184 คน โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ ระยะที่ 2 พัฒนาแนวทางการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดนครราชสีมา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์จากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีวิธีการปฏิบัติที่ดี (Best Practices) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่า มาตรฐานวิชาการและการจัดกิจกรรมตามหลักสูตรมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดและอยู่ในระดับมากสภาพที่พึ่งประสงค์ของการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก พบว่า มาตรฐานอาคาร สถานที่ สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดและอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนดัชนีความต้องการจำเป็น เรียงลำดับมาตรฐานจากมากไปน้อย ดังนี้ มาตรฐานอาคาร สถานที่ สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยมาตรฐานวิชาการและการจัดกิจกรรมตามหลักสูตรมาตรฐานการมีส่วนร่วมและการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนมาตรฐานบุคลากรมาตรฐานการส่งเสริมเครือข่ายการพัฒนาเด็กปฐมวัย และ มาตรฐานการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2. การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานตามมาตรฐาน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา มี องค์ประกอบ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1)แนวคิดและหลักการ 2)วัตถุประสงค์ 3)วิธีการดำเนินการ ซึ่งวิธีการดำเนินการจำแนกตามาตรฐาน ได้แก่ 3.1) มาตรฐานการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มี 1 ตัวบ่งชี้ 7 แนวทาง 3.2) มาตรฐานบุคลากร มี 1 ตัวบ่งชี้ 13 แนวทาง 3.3) มาตรฐานอาคาร สถานที่ สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย มี 1 ตัวบ่งชี้ 10 แนวทาง 3.4) มาตรฐานวิชาการและการจัดกิจกรรมตามหลักสูตรมี 1 ตัวบ่งชี้ 7 แนวทาง 3.5)มาตรฐานการมีส่วนร่วมและการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน มี 1 ตัวบ่งชี้ 8 แนวทาง 3.6) มาตรฐานการส่งเสริมเครือข่ายการพัฒนาเด็กปฐมวัย มี 1 ตัวบ่งชี้ 7 แนวทาง และ 4)เงื่อนไขและความสำเร็จ ส่วนผลการประเมินแนวทาง พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
References
ต้องการ สุขเหลือ. (2551). เอกสารประกอบคำบรรยายเรื่อง มาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ประเวศ วะสี. (2557). อภิวัฒน์การเรียนรู้ สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน.
มลิวรรณ์ ภิรมย์รักษ์. (2561). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ลภัตสดา นราพงษ์. (2560). แนวทางการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา. (2555). รายงานประจำปี 2555 ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา.สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2564. จาก www.hpc5.anamai.go.th
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553) การวิจัยและพัฒนานโยบายการพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
อมรชัย ตันติเมธ. (2542). การบริหารสถานศึกษาปฐมวัย. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อัญชลี หลักชัย. (2562). การพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อิสระภัทร์ คุณประเสริฐ. (2554) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการด้านภาวะผู้นำขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Deming in Mycoted. (2004). Plan Do Check Act (PDCA). Retrieved 19 June 2021. From http://www.mycoted.com/creativity/techniques/pdca.php