การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้ชุดกิจกรรมเกมการศึกษาจากเมล็ดพืช
DEVELOPMENT OF EARLY CHILDHOOD’ BASIC MATHEMATICAL SKILLS BY ARRANGEMENT OF SEED-BASED EDUCATIONAL GAMES
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมเกมการศึกษาจากเมล็ดพืช ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ระหว่างก่อนและหลังจัดประสบการณ์ด้วยชุดกิจกรรมเกมการศึกษาจากเมล็ดพืช 3) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมเกมการศึกษาจากเมล็ดพืชของเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นอนุบาล 3/1 โรงเรียนพิชญวิทย์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 24 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดประสบการณ์ด้วยเกมการศึกษาจากเมล็ดพืชชั้นอนุบาล 3 จำนวน 16 แผน 2) แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับชั้นอนุบาล 3 เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรมเกมการศึกษาจากเมล็ดพืชมีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.72/84.38 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย หลังการจัดประสบการณ์ด้วยเกมการศึกษาจากเมล็ดพืชสูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์เกมการศึกษาจากเมล็ดพืช อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมเกมการศึกษาจากเมล็ดพืช ของเด็กปฐมวัย มีค่าเท่ากับ 0.7074 คิดเป็นร้อยละ 70.74
References
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : เบรน-เบส บุคส์.
ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์.
พิไลลักษณ์ แก้วเก่า. (2557). การพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์โดยใช้เกมการศึกษา.วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาชาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนครพนม.
เพ็ญจันทร์ เงียบประเสริฐ. (2542). คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คพับลิเคชั่นส์.
วรรณีย์ พรมนนท์. (2555). การพัฒนารูปแบบการสอนที่เน้นการบูรณาการด้วยเกมการศึกษาจากสื่อธรรมชาติเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาชาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี. (2551). คู่มือกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัยตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.).
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2560). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560.กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
สิริกานต์ ก้อนวิมล. (2558). การพัฒนาความพร้อมด้านคณิตศาสตร์โดยเกมการศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาชาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สุณี บุญพิทักษ์. (2557). วิจัยชั้นเรียนปฐมวัย : หลักการปฏิบัติจากประสบการณ์. กรุงเทพฯ : ปัญญาชน.
อัญชลี ไสยวรรณ. (2555). ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย. สืบค้นวันที่ 19 พฤษภาคม 2555. จาก http://www.echild-edu.com/youthcenter/content/articles/math-for-child.html