ความต้องการจำเป็นในการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษา จังหวัดชัยภูมิ
NEEDS ON INFORMATION INSTITUTE TECHNOLOGY ADMINISTRATION UNDER CHAIYAPHUM VOCATIONAL EDUCATION
Abstract
บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นในการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 40 คน ครูผู้สอนจำนวน 200 คน รวม 240 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันในการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดชัยภูมิ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดชัยภูมิ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. ความต้องการจำเป็นในการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดชัยภูมิ โดยเรียงตามลำดับความสำคัญเป็นดังนี้ 1. ด้านการวางแผนการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ 2. ด้านการปรับปรุงและพัฒนาการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ 3. ด้านการติดตามและประเมินผลการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ 4. ด้านการดำเนินงานการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามลำดับ
References
คชา โกศิลา และคณะ. (2561). ศึกษาสภาพปัจจุบันการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศสถาบันการอาชีวศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. 5(2). 387-404.
จีรวุฒิ คล่องแคล่ว. (2563). สภาพและปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานในโรงเรียนสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ทิพวัลย์ นนทเภท. (2557). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
ทิศานาถ ขุนนาถ และคณะ. (2558). รูปแบบการบริหารงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในโรงเรียนประถมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 17(1). 14-23.
นภาวรรณ สุขดี และคณะ. (2559). การศึกษาปัญหาและความต้องการในการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุทธยา. 3(3). 39-46.
ปิยนาถ ราชแป้น. (2555). การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ครุศาตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
ภาคภูมิ ขลังธรรมเนียม. (2559). การศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการระบบสารสนเทศในการบริหารงานของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในเขตภาคกลาง. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. 4(3). 1105-1122.
วัชราพร ริกากรณ์. (2555). การศึกษาการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาสหวิทยาเขตเสรีไทย สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2542). ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ว่าด้วยการบริหารสถานศึกษา พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2548). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุเทน เกิดเรียน. (2557). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการคัดกรองนักศึกษา:กรณีศึกษาศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอพิมายจังหวัดนครราชสีมาโดยใช้เทคนิค Data clustering. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
ฮาดี บินดู่เหล็ม และคณะ. (2563). การศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล.วารสารอิเล็กทรอนิกส์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุทธยา. 10(3). 70-84.