แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธสู่ความเป็นโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำของโรงเรียนโคกล่ามพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด
GUIDELINES OF THE OPERATION OF BUDDHIST SCHOOL TO LEADING BUDDHIST ORIENTED SCHOOL OF KHOKLAM PITTAYAKOM UNDER THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE ROI ET
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธ ของโรงเรียนโคกล่ามพิทยาคมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด 2)เพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ และโรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด 3) เพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธสู่ความเป็นโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ ของโรงเรียนโคกล่ามพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้บริหารและครูผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ จำนวน 99 คน และผู้ให้สัมภาษณ์ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) การดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธ ของโรงเรียนโคกล่ามพิทยาคมสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ ซี่งมีแนวทางในการดำเนินงาน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านกายภาพ ด้านกิจกรรมประจำวันพระ ด้านการเรียนการสอน ด้านพฤติกรรมนักเรียน ครู ผู้บริหาร ด้านส่งเสริมวิถีพุทธ และโรงเรียนวิถีพุทธพระราชทานมีแนวทางในการดำเนินงานตามข้อบ่งชี้คุณภาพ 54 ข้อ 4 มาตรฐาน ได้แก่ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต ผลกระทบ 3) แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธสู่ความเป็นโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ ของโรงเรียนโคกล่ามพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด 5 ด้าน ประกอบด้วย (1) ด้านกายภาพสถานศึกษาควรมีป้ายโรงเรียนวิถีพุทธ มีพระพุทธรูปหน้าโรงเรียน มีพระพุทธรูปประจำห้องเรียน มีพระพุทธศาสนสุภาษิตวาทธรรม พระราชดำรัสติดตามที่ต่าง ๆ มีความสะอาด สงบ ร่มรื่น มีห้องพระพุทธศาสนาหรือลานธรรม ไม่มีสิ่งเสพติด เหล้า บุหรี่ (2) ด้านกิจกรรมประจำวันพระควรให้ผู้เรียนใส่เสื้อขาวทุกคน มีการทำบุญใส่บาตร ฟังเทศน์ รับประทานอาหารมังสวิรัติ สวดมนต์แปล (3) ด้านการเรียนการสอนควรมีการเจริญปัญญาก่อนเข้าเรียน มีการบูรณาการวิถีพุทธกับทุกกลุ่มสาระ และในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา นักเรียนทำโครงงานคุณธรรม กิจกรรมจิตอาสา ไปปฏิบัติศาสนกิจที่วัด มีการเข้าค่ายปฏิบัติธรรม (4) ด้านพฤติกรรมนักเรียน ครู ผู้บริหาร ควรมีการรักษาศีล 5 ยิ้มง่าย ไหว้สวย กราบงาม มีการพิจารณาอาหารรับประทานอาหาร ประหยัด มีนิสัยใฝ่รู้ และ (5) ด้านส่งเสริมวิถีพุทธไม่ควรมีอาหารขยะขายในโรงเรียน ชื่นชมคุณความดีหน้าเสาธงทุกวัน โฮมรูมเพื่อสะท้อนความรู้สึก มีสมุดบันทึกความดี มีการสอบธรรมศึกษา มีพระมาสอนอย่างสม่ำเสมอ
References
ธนวัฒน์ ทวี, พระครูชัยรัตนากร, เอนก ศิลปนิลมาลย์. (2563). การบริหารโรงเรียนวิถีพุทธของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 10(2). 33-44.
นารี ทองฉิม, พระมหาสุพจน์ สุเมโธ และพระครูพิจิตรศุภการ. (2563). การดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธสู่ความเป็นโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. 5(2). 311-326.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น .พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน์.
พระมหาวิชาญ สุวิชาโน (บัวบาน). (2562). คู่มือดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธ. พระนครศรีอยุธยา : โรงพิมพ์มหาจุฬลงกรณราชวิทยาลัย.
โรงเรียนวิถีพุทธ. (2563). โรงเรียนวิถีพุทธพุทธธรรมประยุกต์เพื่อการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2563. จาก https://www.vitheebuddha.com /main.php?url=about&id
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ (2560-2579). กรุงเทพฯ : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จํากัด.