การพัฒนาแนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับสถานศึกษา สังกัดเทศบาลภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
DEVELOPING GUIDELINES FOR ORGANIZING LEARNER DEVELOPMENT ACTIVITIES TO ENHANCE 21ST CENTURY LEARNING SKILLS FOR EDUCATIONAL INSTITUTIONS UNDER THE MUNICIPALITY OF THE LOWER NORTHEAST
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ ของการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับสถานศึกษา สังกัดเทศบาลภาตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2) เพื่อพัฒนาแนวทางการดำเนินงานจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 64 คน และครูที่ปฏิบัติหน้าที่ในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนจำนวน 86 คน รวมทั้งสิ้น 150 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับสถานศึกษา 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับสถานศึกษา 3) แบบสัมภาษณ์สถานศึกษาที่มีวิธีการปฏิบัติที่ดี (Best practice) ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 4) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับสถานศึกษา สังกัดเทศบาลภาตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับสถานศึกษา สังกัดเทศบาล ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับสถานศึกษา สังกัดเทศบาล ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. การพัฒนาแนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับสถานศึกษา สังกัดเทศบาล ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับสถานศึกษา ประกอบด้วย 1) หลักการและเหตุผล 2) วัตถุประสงค์ 3) องค์ประกอบการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับสถานศึกษา มี 5 องค์ประกอบ 20 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 การกำหนดวัตถุประสงค์และการกำหนดเป้าหมาย มี 4 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 2 การจัดให้เหมาะสมกับวัยวุฒิภาวะ ความสนใจความถนัดและความสามารถของผู้เรียน มี 4 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 3 การปลูกฝังและส่งเสริม จิตสำนึกในการบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม มี 3 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 4 การยึดหลักการมีส่วนร่วม มี 4 ตัวบ่งชี้ และองค์ประกอบที่ 5 การประเมินผลการปฏิบัติกิจกรรม มี 5 ตัวบ่งชี้ 4) เงื่อนไขความสำเร็จ โดยรวมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน : ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
เกษม ทองปัญจา. (2563). ตัวบ่งชี้การพัฒนาผู้เรียนเพื่อความเข้มแข็งทางการแข่งขันในศตวรรษ ที่ 21. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
จันทร ก่ำภัคสร. (2557). การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
ชมัยพร แก้วชิน. (2550). กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน หลักสูตร-การประเมิน. อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
ชุติมา ถิตย์ประเสริฐ. (2561). การพัฒนาแนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Kristen Kereluik, Punya Mishra, Chris Fahnoe, Luara Terry. (2013). What Knowledge Is of Most Worth : Teacher Knowledge for 21st Century Learning. Journal of Digital Learning in Teacher Education. 29(4). 130-131.