การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์
THE DEVELOPMENT OF ACADEMIC ADMINISTRATION MODEL TO DEVELOP STUDENTS’ QUALITY AT KHUNHANWITTAYASAN SCHOOL
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาของการบริหารงานวิชาการด้านคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ 2) พัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ 3) ทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีต่อการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอน นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ จำนวน 702 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบประเมิน และคู่มือการดำเนินงาน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และปัญหาการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ 1) ขอบข่ายของงานวิชาการ 2) การพัฒนาทีมงานวิชาการในสถานศึกษา 3) การมีส่วนร่วม 4) กระบวนการบริหารงานวิชาการ 3. การทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ 1) ขอบข่ายงานวิชาการ ได้แก่ การวางแผนงานวิชาการ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การพัฒนาและส่งเสริมทางด้านวิชาการ การวัดผลและประเมินผลการเรียนและงานทะเบียนนักเรียน การแนะแนวการศึกษา และการประเมินผล 2) ผลการพัฒนางานวิชาการโดยการทำงานเป็นทีม ได้แก่ การรับรู้และค้นหาปัญหา การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล การวางแผนปฏิบัติการ การนำแผนไปปฏิบัติ และการประเมินผลลัพธ์ 3) ผลการมีส่วนร่วมที่เกิดขึ้นในการบริหารงานวิชาการ ได้แก่ การมีส่วนร่วมวางแผนกลยุทธ์ การมีส่วนร่วมการวางแผน การมีส่วนร่วมการปฏิบัติการ การมีส่วนร่วมติดตามและประเมินผล การมีส่วนร่วมการตัดสินใจ การมีส่วนสร้างความชื่นชมร่วมกับชุมชน และการมีส่วนร่วมปรับปรุงและพัฒนา 4) กระบวนการบริหารงานวิชาการ ได้แก่ การวางแผน การปฏิบัติตามแผน การตรวจสอบ และการปรับปรุงแก้ไข 4. ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีต่อการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยความพึงพอใจจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และครูผู้สอน
References
จันทร์เพ็ญ หรดี. (2563). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
นัฐรียา ฉัตรรักษา. (2558). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
รวีวัตร์ สิริภูบาล. (2543). การพัฒนาแบบจาลองระบบฝึกอบรมครูเชิงทักษะปฏิบัติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ราชกิจจานุเบกษา. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 มาตรา 40. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
ศศิศ ศิริพรหมมา. (2560). การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2554). รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ. 2554-2558) ของโรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์. กรุงเทพฯ : สมศ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). การวิจัยและพัฒนานโยบายการพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560–2579. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
สุประวีณ์ ทิพย์โพธิ์. (2563). รูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
สุรีรัตน์ นนท์ตุลา. (2555). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.