แนวทางการพัฒนาความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3

THE DEVELOPMENT OF INNOVATIVE ORGANIZATION GUIDELINES FOR SCHOOLS UNDER SURIN PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 3

  • เพ็ญพิมล พลสมบัติ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • บุญชม ศรีสะอาด มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์เขต 3 2) เพื่อพัฒนาแนวทางความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 โดยใช้วิธีดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 341 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์เท่ากับ .975 และ .965 ตามลำดับ ระยะที่ 2 แนวทางการพัฒนาความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้รับผิดชอบงานนวัตกรรมในสถานศึกษาที่มีผลการปฏิบัติที่ดีเยี่ยม จำนวน 3 แห่ง และผู้ทรงคุณวุฒิประเมินแนวทางและความเป็นไปได้จำนวน 5 คน โดยวิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการพัฒนาความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น


           ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 โดยมีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ของความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปน้อย ได้แก่ ทักษะบุคลากร การติดตามและประเมินผลนวัตกรรม การจัดความรู้และข้อมูลความคิดสร้างสรรค์ โครงสร้างองค์กรการมีวิสัยทัศน์และเป้าหมายร่วมการสร้างบรรยากาศ การมีส่วนร่วมในนวัตกรรม และการสื่อสาร ตามลำดับ 2. แนวทางการพัฒนาความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) จุดมุ่งหมาย 3) แนวทางการดำเนินการ และ4) เงื่อนไขความสำเร็จ โดยยึดหลักองค์ประกอบของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ประกอบด้วย 3 ระดับ 9 องค์ประกอบ ดังนี้ ระดับยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1) การมีวิสัยทัศน์และเป้าหมายร่วม 2) การมีส่วนร่วมในนวัตกรรม 3) การติดตามและประเมินผลนวัตกรรม ระดับปฏิบัติการ ได้แก่ 4) การสื่อสาร 5) การจัดความรู้และข้อมูล 6) ความคิดสร้างสรรค์ และระดับสนับสนุน ได้แก่ 7) โครงสร้างองค์กร 8) ทักษะบุคลากร 9) การสร้างบรรยากาศ ซึ่งแต่ละองค์ประกอบมีรายละเอียดแนวทางการปฏิบัติทั้งหมด 31 แนวทาง ซึ่งผลการประเมินโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

กีรติ ยศยิ่งยง. (2552). องค์การแห่งนวัตกรรม แนวคิด และกระบวนการ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ขวัญชนก แสงท่านั่ง. (2563). รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาสู่องค์กรแห่งนวัตกรรมสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สุวิริยาสาส์น.

วชิน อ่อนอ้าย. (2558). รูปแบบการพัฒนาโรงเรียนเอกชนสู่ความเป็นองค์การแห่งนวัตกรรม. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วุฒิพงษ์ ภักดีเหลา. (2554). การศึกษาคุณลักษณะขององค์การนวัตกรรม:กรณีศึกษาองค์การที่ได้รับรางวัลด้านนวัตกรรม. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ. คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ศศิประภา ชัยประสิทธิ์. (2552). องค์กรแห่งนวัตกรรมทางเลือกของผู้ประกอบการยุคใหม่. วารสารนักบริหาร. 30(2). 60-63.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 (2564). แผนปฏิบัติการประจำปี 2565. สุรินทร์ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3.

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2563). Innovative Organization Book of Knowledge การจัดการสู่องค์กรนวัตกรรม. กรุงเทพฯ : บริษัท ทริปเปิลว้าว คอร์ปอเรชั่น จำกัด.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2555). แนวคิดเชิงนวัตกรรมสำหรับการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 14(2). 117-128.

สุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2564). การบริหารสู่องค์การแห่งนวัตกรรมการศึกษา. มหาสารคาม : ตักสิลาการพิมพ์.

องค์อร ประจันต์เขตต์. (2557). องค์กรแห่งนวัตกรรมการศึกษา ทางเลือกใหม่ของการบริหารการศึกษา. วารสารพยาบาลทหารบก. 15(1). 45-51.

อนุพงษ์ ชุมแวงวาปี. (2561). การพัฒนารูปแบบองค์การแห่งนวัตกรรมของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยบูรพา.

Adair, J. (1996). Effective innovation: How to stay ahead of the competition. London : Pan books.

Ahmed, P.K. (1998). Culture and climate for innovation. European Journal of Innovation Management. 1(1). 30-43.

Christiansen, J. A. (2000). Building the innovative organization: Management systems that encourage innovation. Hampshire : Macmillan.

Drucker, P.F. (1985). Innovation and entrepreneurship. New York : Harper and Row.

Higgins, J. M. (1995). Innovate or evaporate: Test and improve your organizations IQ-Its innovation quotient. New York : Management.

McKeown, M. (2008). The truth about innovation. London : Prentice-Hall.

Mohamed, S. (2011). Impact of Organizational innovation on firm performance : Evidence from Malaysian-based ICT companies. Business and Management Review. 1(5). 10-16.

Price Waterhouse Coopers. (1999). Global Growth and Innovation Study, Executive Summary. London : Price Waterhouse Coopers.

Quinn, J. B. (1991). Managing innovation: Controlled chaos. Harvard Business Review. 63(3). 17-28.

Stoner, A.F., & Wankel, C. (1986). Management. 3rd ed. New Delhi : Prentice – Hill.

Tidd, J., Bessant, J., & Pavitt, K. (2001). Managing innovation. 2nd ed. Chichester : Willey and Son.
Published
2023-03-27
How to Cite
พลสมบัติ, เพ็ญพิมล; ศรีสะอาด, บุญชม. แนวทางการพัฒนาความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 7, n. 2, p. 658-672, mar. 2023. ISSN 2730-2644. Available at: <http://202.29.86.169/index.php/jbpe/article/view/2342>. Date accessed: 26 nov. 2024.