การสังเคราะห์งานวิจัยด้านการสอนวรรณคดีไทย ปีการศึกษา 2525-2534

RESEARCH SYNTHESIS IN TEACHING THAI LITERATURE, ACADEMIC YEAR 1982-1991

  • สิรพัชญ์ หาญนอก คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
  • Nguyen Kieu Yen คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

Abstract

          บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์งานวิจัยด้านการสอนวรรณคดีไทย ระดับบัณฑิต ศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2525-2534 โดยเอกสารที่ใช้ศึกษาได้จากงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาจาก 6 มหาวิทยาลัย รวมทั้งสิ้น 38 เรื่อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบบรรทุกรายละเอียดงานวิจัย สถิติที่ใช้ในการสังเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่และค่าร้อยละ แล้วนำเสนอข้อมูลแบบพรรณนาวิเคราะห์


           ผลการวิจัยพบว่า งานวิจัยด้านการสอนวรรณคดีไทย ระดับบัณฑิต ศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2525-2534 จำนวน 38 เรื่อง เป็นหัวข้อวิเคราะห์ตัวบทวรรณกรรมและวรรณคดีมีจำนวนงานวิจัยมากที่สุด จำนวน 27 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 71.05 รองลงมาคือหัวข้อการเปรียบเทียบการเรียนการสอน มีงานวิจัยจำนวน 5 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 13.15 รองลงมาคือหัวข้อวิเคราะห์แบบเรียน มีงานวิจัยจำนวน 3 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 7.89 รองลงมาคือหัวข้อวิเคราะห์การเรียนการสอน มีงานวิจัยจำนวน 2 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 5.26 และจำนวนน้อยที่สุดคือหัวข้อความสนใจของผู้เรียน มีงานวิจัย จำนวน 1 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 2.63 แสดงให้เห็นว่างานวิจัยที่มีระเบียบวิธีวิจัยทางการศึกษาระหว่างปี พ.ศ.2525-2534 ยังไม่มีจำนวนไม่มากเท่าที่ควร ส่งผลให้วัตกรรมที่เกี่ยวกับการศึกษามีจำนวนน้อยเช่นกัน ทั้งนี้เพราะในช่วงปีดังกล่าวมีการมุ่งเน้นการวิจัยไปที่การสร้างองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับวรรณกรรมและวรรณคดีไทย

References

กฤษณา คงยิ้ม. (2531). การวิเคราะห์เพลงประกอบการละเล่นพื้นบ้านจากตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เจตนา นาควัชระ. (2520). สภาพปัจจุบัน ปัญหาและแนวทางการวิจัยด้านภาษาและวรรณคดี. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 1(1). 1-25.

แจ่มจันทร์ สุวรรณรงค์. (2527). วิเคราะห์วรรณกรรมกลอนอ่านประเภทนิทานของอีสาน. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ฉัตรชัย ว่องกสิกรณ์. (2528). วิเคราะห์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ตามหลักการละครใน. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชนิศา พินธุสาร. (2526). วรรณกรรมไทยรามัญ ตำบลบางขันหมาก อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี.
วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชลอ รอดรอย. (2532). ศึกษาวรรณคดีไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในเชิงการเรียนการสอน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสอนภาษาไทย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ฐิติมา วิทยาวงศ์รุจิ. (2528). วิเคราะห์บทละครนอกสามสมัย. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ทรงภพ ขุนมธุรส และคณะ. (2563). การสังเคราะห์งานวิจัยด้านการสอนภาษาไทยระดับบัณฑิตศึกษา. วารสารครุพิบูล. 7(2). 295-308.

ทัศนศรี โสมะเกษตริน. (2529). วิเคราะห์ความสามารถในการนำทหารของแม่ทัพเอกในวรรณคดีเรื่อง สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาคลัง (หน). วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลก.

ธำรงค์ กาญจนธานี. (2527). วิเคราะห์วรรณกรรมนิทานท้องถิ่นภาคใต้. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นงลักษณ์ ปิ่นสุวรรณ. (2531). ศึกษาตัวละครในนวนิยายของโบตั๋น. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นันท์ทยา ลำดวน. (2525). เปรียบเทียบผลการสอนวิชาวรรณคดีไทย เรื่อง ละครของไทย โดยใช้วิธีสอนที่ใช้บทเรียนแบบโปรแกรมสไลด์เทปกับวิธีสอน แบบธรรมดาสำหรับนักศึกษาครูระดับปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสอนภาษาไทย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นิตยา ปิ่นชาญชัยยุทธ. 2529. การวิเคราะห์คุณธรรมของตัวเอกในวรรณคดี ที่ปรากฏในหนังสือเรียนวิชาภาษาไทย ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขามัธยมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปราณี สุรสิทธิ์. (2527). คำสอนสตรีไทยจากวรรณกรรมช่วงก่อนได้รับอิทธิพลตะวันตก. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปริญญา สุวรรณรงค์. (2528). การวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์เพื่อสืบค้นหาผู้แต่งโคลงกำสรวลและโคลงทวาทศมาส. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลก.

ปริมวดี ประยูรศุข. (2525). ความสนใจในการอ่านหนังสือนิทานประเภทต่าง ๆ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่สาม โรงเรียนสาธิตของมหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประถมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรทิพย์ ซังธาดา. (2532). ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก : การศึกษาวิเคราะห์รูปแบบและศิลปะการประพันธ์. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม.

พรสวรรค์ สุวรรณธาดา. (2529). เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวรรณคดีไทยเรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย โดยวิธีสอนแบบโปรแกรมสไลด์ประกอบเสียง กับวิธีสอนแบบบรรยายตามแนวทฤษฎีการสอนของกาเย่ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงรียนบรบือวิทยาคาร จังหวัดมหาสารคาม.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการมัธยมศึกษา (การสอนภาษาไทย). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม.

พิสมร วัยวุฒิ. (2530). วิเคราะห์การใช้ภาพพจน์ในวรรณกรรมร้อยกรองของ สุจิตต์ วงษ์เทศ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลก.

เพชรปาณี อินทรพาณิชย์. (2533). เปรียบเทียบความสามารถในการฟังของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการสอนโดยใช้และไม่ใช้นิทานพื้นบ้านอีสานประกอบการฟัง. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาประถมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

ไพศาล วงษ์ศิริ. (2526). การศึกษาวิเคราะห์เรื่องเสภาเพื่อการเรียนการสอนวรรณคดีไทย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขามัธยมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภัทราภรณ์ ทนันชัย. (2528). การวิเคราะห์การใช้ภาพพจน์ในวรรณคดีที่ปรากฏในหนังสือเรียนภาษาไทย วิชาบังคับระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขามัธยมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยุพิน ธีระธัญโญภาส. (2527). การวิเคราะห์คติพจน์จากวรรณคดีไทยสมัยรัชกาลที่ 2 เปรียบเทียบกับที่ปรากฏในหนังสือเรียนภาษาไทยระดับมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาประถมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รพีพรรณ เทียมเดช. (2531). วิเคราะห์วรรณกรรมบทละครของหลวงพัฒนพงศ์ภักดี (ทิม สุขยางค์). วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

รำพึง ศิลาแลง. (2530). การศึกษาวรรณคดีคำสอนประเภทร้อยกรองช่วงก่อนได้รับอิทธิพลจากวรรณกรรมตะวันตกในเชิงจริยธรรม. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลก.

รำเพย ไชยสินธุ์. (2527). กระบวนจินตภาพในวรรณกรรมร้อยกรองอีสาน. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ลำยอง สำเร็จดี. (2529). วิเคราะห์ท่วงทำนองการประพันธ์ของสุนทรภู่เพื่อสืบค้นผู้แต่งนิราศอิเหนาและสุภาษิตสอนหญิง. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลก.

วินัย จันทร์พริ้ม. (2531). วิเคราะห์สำนวนโวหารและสัญลักษณ์ในเพลงกล่อมเด็กภาคใต้. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิลาวัลย์ อิ่มเอม. (2528). การศึกษาปัญหาการใช้หนังสือแบบเรียนภาษาไทยชุดวรรณวิจักษณ์เล่ม 2ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วีระเกียรติ รุจิรกุล. (2531). การวิเคราะห์การอบรมเลี้ยงดูที่ได้รับและพฤติกรรมของตัวละครเอก ในวรรณคดีไทย สมัยรัชกาลที่ 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขามัธยมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

แววตา พูลสวัสดิ์. (2529). เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวรรณคดีไทยเรื่อง ไขภาษา โดยการสอนแบบประสมศิลปวิธีสอนกับการสอนแบบปกติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสอนภาษาไทย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สมภูมิ บ่ายเที่ยง. (2525). การเปรียบเทียบการใช้เวลาในการสอน และผลสัมฤทธิ์ในการเรียน วิชาวรรณคดีไทย โดยวิธีสอนแบบล่าคำตอบกับวิธีสอนแบบบรรยาย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขามัธยมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สรายุทธ ทองคำใส. (2529). วิเคราะห์วรรณคดีเรื่องผาแดง-นางไอ่ฉบับของพระอริยานุวัตรเขมจารี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลก.

สันทนี อาบัวรัตน์. (2528). การศึกษาวรรณกรรมอีสานเรื่องมาลัยหมื่นมาลัยแสน. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2520). แผนการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2520. กรุงเทพฯ : ศรีเมืองการพิมพ์.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2526). สถิติการศึกษาฉบับย่อ ปีการศึกษา 2525. กรุงเทพฯ : ชวนพิมพ์.

สิริรัตน์ สุคันธวณิช. (2531). การวิเคราะห์ภาพพจน์ในวรรณคดีไทยที่ปรากฏในหนังสือเรียนภาษาไทย ชุดทักษสัมพันธ์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขามัธยมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิริวรรณ ทัพพะรังสี. (2529). การวิเคราะห์หนังสือเรียนภาษาไทย วิชาวรรณคดีมรดก ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขามัธยมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุชาวดี เกษมณี. (2531). วิเคราะห์การเรียนการสอนภาษาไทยจากวรรณคดีไทย ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสอนภาษาไทย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุนิสา มั่นระวัง. (2529). วิเคราะห์กาพย์เห่เรือสมัยอยุธยาตอนปลายจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ปัจจุบัน. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลก.

สุระ ดามาพงษ์. (2527). การวิเคราะห์หนังสือเรียนภาษาไทย ชุดวรรณวิจักษณ์ เล่ม 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม.5). วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อรรณพ จีนะวัฒน์ และสุบิน ยุระรัช. (2559). การเลือกใช้ระเบียบวิธีทางสถิติให้เหมาะกับปัญหาวิจัยทางการบริหารการศึกษา. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ). 9(2). 1396-1415.

อุไร ดีจริง. (2530). การศึกษาเชิงวิเคราะห์นิทานเรื่องวงยะมาด อำเภอโคกบีบ จังหวัดปราจีนบุรี.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Published
2023-03-27
How to Cite
หาญนอก, สิรพัชญ์; KIEU YEN, Nguyen. การสังเคราะห์งานวิจัยด้านการสอนวรรณคดีไทย ปีการศึกษา 2525-2534. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 7, n. 2, p. 673-686, mar. 2023. ISSN 2730-2644. Available at: <http://202.29.86.169/index.php/jbpe/article/view/2343>. Date accessed: 26 nov. 2024.