ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาสู่ความเป็นองค์กรนวัตกรรมสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น
POLICY RECOMMENDATION TO DEVELOP INNOVATIVE ORGANIZATION OF SECONDARY SCHOOLS UNDER THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE KHON KAEN
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงนโยบายมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและตรวจสอบข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาสู่ความเป็นองค์กรนวัตกรรมสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น มีการดำเนินการวิจัย 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 เป็นการศึกษาเพื่อสร้างนโยบายการพัฒนาสู่ความเป็นองค์กรนวัตกรรมสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น โดยการศึกษาเอกสาร ศึกษาพหุกรณี และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน ทำให้ได้ร่างข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนาสู่ความเป็นองค์กรนวัตกรรม และระยะที่ 2 เพื่อตรวจสอบข้อเสนอเชิงโยบายการพัฒนาสู่ความเป็นองค์กรนวัตกรรมสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น พิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารและนักวิชาการ จำนวน 5 คน เพื่อประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ของข้อเสนอเชิงนโยบาย
ผลการวิจัยพบว่า ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาสู่ความเป็นองค์กรนวัตกรรมสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น ในด้านวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ กลยุทธ์ และแนวปฏิบัติ ของกรอบการพัฒนา สู่ความเป็นองค์กรนวัตกรรมของโรงเรียนมัธยมศึกษา มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมาก
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กิตติพร อาภา และคณะ. (2563). ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาความเป็นองค์กรนวัตกรรมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 8(3). 32-41.
กีรติ ยศยิ่งยง. (2552). องค์กรแห่งนวัตกรรม : แนวคิดและกระบวนการ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กุศล ทองวัน. (2553). ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ ต่อระดับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และระดับการเป็นองค์กรนวัตกรรม: กรณีศึกษา สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. วรสารบริหารธุรกิจ. 33(128). 34-48.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2559). CCPR MODEL: สู่การเรียนการสอนเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพในสังคมไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รัตนวดี โมรากุล และคณะ. (2560). การวิเคราะห์องค์ประกอบองค์การแห่งนวัตกรรมของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. Veridian E-Journal. 10(2). 2341-2355.
ศิริราชประชาสัมพันธ์. (2563). องค์กรแห่งนวัตกรรม (Innovative Organization). ศิริราชประชาสัมพันธ์. มกราคม. 16.
สุริศา ริมคีรี. (2562). การพัฒนาตัวบ่งชี้องค์การแห่งนวัตกรรมการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยบูรพา.
องค์อร ประจันเขตต์. (2557). องค์กรแห่งนวัตกรรมการศึกษา ทางเลือกใหม่ของการบริหารการศึกษา. วารสารพยาบาลทหารบก. 15(1). 45-51.
อนุพงษ์ ชุมแวงวาปีและคณะ. (2561). การพัฒนารูปแบบองค์การแห่งนวัตกรรมของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 12(3). 207-219.
ไอริน โรจน์รักษ์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นองค์การนวัตกรรมกับสมรรถนะในการสร้างสรรค์นวัตกรรม : กรณีศึกษาสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์. 2(2). 46-60.
Best J. W. (1981). Research in Education. 4th ed. Englewood : Cliff Prentice Hall.
Haelermans C & De Witte K. (2011). The Role of Innovations in Secondary School Performance: Evidence from a Conditional Efficiency Model. European Journal of Operation Research. 223(2). 541-549.
Saki S, Shakiba H & Savari M. (2013). Study of the Relationship between the Organization Learning and Organizational Innovation at University of Tehran. Journal of Organization Leadership and Leadership. 11(1). 1-18.