การศึกษาผลการนิเทศเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์การประเมินคุณภาพผู้เรียน(NATIONAL TEST: NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของครูผู้สอนโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง(COACHING & MENTORING)
THE STUDY OF SUPERVISION TO INCREASE THE STUDENT SCORE TOWARD THE (NATIONAL TEST : NT) OF PRIMARY 3 TEACHERS FOR SCHOOLS UNDER THE UDON THANI PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 4, USING THE PROCESS OF COACHING AND MENTORING
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความรู้ ความเข้าใจของครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 2) ศึกษาผลการนิเทศการออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยรูปแบบการนิเทศแบบชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring) และ 3) ศึกษาผลสัมฤทธิ์การประเมินคุณภาพผู้เรียน (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินความรู้ความเข้าใจกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูผู้สอนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 3 แบบประเมินความพึงพอใจของครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการนิเทศแบบชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring) และแบบรายงานผลสัมฤทธิ์การประเมินคุณภาพผู้เรียน (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยตรวจสอบจากค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาความรู้ ความเข้าใจของครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก อยู่ในระดับมาก 2. ผลการศึกษาการนิเทศการออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยรูปแบบการนิเทศแบบชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring) อยู่ในระดับมาก 3. ผลศึกษาผลสัมฤทธิ์การประเมินคุณภาพผู้เรียน (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 ของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนมหาธาตุเจดีย์ คะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับสูงกว่าระดับประเทศ
References
ทนงศิลป์ จันทะแจ้ง. (2561). การพัฒนาคู่มือพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ตามกฎกระทรวง การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4. อุดรธานี : กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4.
ทนงศิลป์ จันทะแจ้ง. (2562). ยุทธศาสตร์การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริงของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4. อุดรธานี : กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4.
วชิรา เครือคำอ้าย และชวลิต ขอดศิริ. (2559). การพัฒนารูปแบบการนิเทศโดยใช้กระบวนการ ชี้แนะและระบบพี่เลี้ยง เพื่อส่งเสริมศักยภาพการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4. (2562). แผนนิเทศคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษา ปีงบประมาณ 2562. อุดรธานี : กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : หน่วยศึกษานิเทศก์สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2565). หลักการทรงงาน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สำนักงานสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ.
Chien, C. W. (2013). Analysis of an Instructional Coach’s Roles Elementary School Language Teachers’ Professional Developer. Current Issues in Education. 16(1). 1-12.