ศึกษาวิเคราะห์จริยธรรมในประเพณีบุญผะเหวดของชาวพุทธอำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย

AN ANALYSIS STUDY OF THE MORALITY IN PHAWED TRADITION OF THE BUDDHISTS IN PHAOWRAI DISTRICT, NONGKHAI PROVINCE

  • พระครูโสมมนัสบัณฑิต (ปณฺฑิโต/ศรีหาบง) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Abstract

           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประวัติการเทศผะเหวดของภาคอีสาน 2) เพื่อศึกษาประเพณีบุญผะเหวดในอำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย และ 3) ศึกษาวิเคราะห์จริยธรรมในประเพณีบุญผะเหวด ของชาวพุทธอำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสารและสัมภาษณ์เชิงลึกโดยใช้บุคคลที่เป็นแบบอย่างของผู้สูงอายุ จำนวน 20 ท่าน วิเคราะห์ด้วยวิธีการเชิงพรรณนา


          ผลการวิจัยพบว่า 1) ประวัติการเทศผะเหวดของภาคอีสาน เป็นประเพณี ฮีต 12 ของกิจกรรมงานบุญประเพณีในภาคอีสานทุกๆ จังหวัด ส่วนมากจะจัดขึ้นใน เดือน 2 ถึงเดือน 4 คนอีสานเรียนว่าบุญผะเหวด ซึ่งเป็นการการอนุรักษ์ประเพณีของชุมชน เพื่อเป็นการสร้างพลังความรัก ความสามัคคีให้เกิดขึ้นในชุมชน ที่แสดงออกจากบุญผะเหวดหรือบุญเดือน 4 ที่มีการปฏิบัติมาจากบรรพบุรุษ 2) ประเพณีบุญผะเหวดในอำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย เป็นกิจกรรมของชุมชนที่มีความร่วมมือระหว่าง วัด ผู้นำชุมชน หน่ายงานราชการและโรงเรียน เพื่อสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นภายในชุมชน เนื้อหาของการเทศผะเหวดแบ่งออกดังนี้ ก่อนวันงานที่ประชาชนนั้นได้ร่วมตัวกันภายในวัดที่จะจัดงานเพื่อเตรียมความพร้อมของงานตามประเพณี วันแห่ประชาชนจะร่วมตัวกันที่ข้างสระน้ำของชุมชน เพื่อร่วมอัญเชิญขบวนบุญผะเหวดนั้น เข้ามาในเมืองตามคติความเชื่อของชุมชนและวันงานที่มีการเทศตามคัมภีร์ใบลานสมัยเก่าและการเทศน์แบบนอกคัมภีร์มีการแต่งเรื่องเพื่อให้เกิดคติเตือนในให้เข้ากับยุคสมัย วิธีการเทศผะเหวด เป็นการเทศน์เสียงหรือการเทศน์แหล่ 3) วิเคราะห์จริยธรรมในประเพณีบุญผะเหวดของชาวพุทธอำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย (1) ทางด้านจริยธรรมประชาชนประพฤติตนดีงาม (2) ด้านพฤติกรรม มีการแสดงออกทางกาย วาจา ใจดีขึ้น (3) ด้านการศึกษา ประชาชนมีความรู้ดีขึ้น (4) ด้านคุณภาพชีวิต ประชาชนมีความเป็นอยู่ดีขึ้นอันเป็นผลมาจากความสามัคคี สิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งที่เราจะเห็นได้จากงานบุญผะเหวดนั่นก็คือ การสร้างงานศิลปะของชุมชนอันสื่อให้เห็นถึงเอกลักษณ์ทางจิตใจของประชาชนภายในชุมชนที่มีศิลปะเปรียบดังภาษาที่บ่งบอกถึงวัฒนธรรมของมนุษยชาติ ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน ที่เป็นบ่อเกิดของอารยธรรมแหล่งต่างๆ ของภาคอีสานที่ชุมชนต่างก็มีแนวโน้มที่ให้อิทธิพลสืบต่อกันมาอย่างไม่จบสิ้นตามคติความเชื่อแล้วกลายเป็นจริยธรรมทางสังคมอย่างเป็นรูปธรรมที่แสดงออกผ่านทางประเพณีบุญผะเหวดของชาวพุทธอำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย

References

กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดร้อยเอ็ด. (2565). เอกลักษณ์ของจังหวัดร้อยเอ็ด. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2565. จาก http://www.roiet.go.th/brand_ of_roiet.htm

พระครูวินัยธรมานพ ปาละพันธ์. (2552). รูปแบบการสืบสานและการพัฒนาทํานองแหล่เทศน์มหาชาติภาคกลาง. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พระมหาบุญทัน อานนฺโท (พาหา). (2540). การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องเวสสันดรชาดก ศึกษาเฉพาะทานบารมี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสมชาติ นนฺทธมฺมิโก. (2549). ศึกษาคุณค่าการเทศน์มหาชาติในล้านนา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2533). พุทธศาสนากับปรัชญา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ อมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊ฟ จำกัด.

ยุพา กาฬเนตร. ประทับใจ สิกขา และประสิทธิ์ พวงบุตร. (2544). ประเพณีอีสานในเชิงอนุรักษ์และเผยแพร่. อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ : นานมี บุ๊คพับลิเคชั่น.
Published
2022-12-07
How to Cite
(ปณฺฑิโต/ศรีหาบง), พระครูโสมมนัสบัณฑิต. ศึกษาวิเคราะห์จริยธรรมในประเพณีบุญผะเหวดของชาวพุทธอำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 7, n. 2, p. 579-588, dec. 2022. ISSN 2730-2644. Available at: <http://202.29.86.169/index.php/jbpe/article/view/2361>. Date accessed: 26 nov. 2024.