ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำตามสถานการณ์กับการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด

THE RELATIONSHIP BETWEEN THE SITUATIONAL LEADERSHIP AND THE ADMINISTRATION BASED ON THE PRINCIPLES OF GOOD GOVERNANCE OF THE GENERAL EDUCATION SECTION OF PHRAPARIYATTIDHAMMA SCHOOL IN ROI ET PROVINCE

  • พระมหาปุ่น สิริโสภโณ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • พระครูชัยรัตนากร , ดร. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อศึกษาการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำตามสถานการณ์กับการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอนในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 122 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน


ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ดโดยรวมอยู่ในระดับมากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านภาวะผู้นำแบบมุ่งความสำเร็จ(X4) รองลงมา ด้านภาวะผู้นำแบบสั่งการ(X1) ด้านภาวะผู้นำแบบสนับสนุน (X2) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ด้านภาวะผู้นำแบบให้มีส่วนร่วม (X3) 2.การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ดโดยรวมอยู่ในระดับมากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านหลักนิติธรรม (Y1)  รองลงมา ด้านหลักความมีส่วนร่วมและข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านหลักความรับผิดชอบ (Y5) 3.ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำตามสถานการณ์กับการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด ในภาพรวมมีความสัมพันธ์กันในทางบวก (r=0.70) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ. (2559). ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2559 : ฉบับรับฟังความคิดเห็น. กรุงเทพฯ : คณะกรรมาธิการ.

นฤมล สุวรรณรงค์, สายันต์ บุญใบ, เยาวลักษณ์ สุตะโคตร. (2564). ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 8 สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 9(36). 111-121.

ประเวศ วะสี. (2550). การเรียนรู้ใหม่ไปให้พ้นวิกฤต. กรุงเทพฯ : ร่วมด้วยช่วยกัน.

พระสหพณ จือปา. (2558). ภาวะผู้นำและธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา: กรณีศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย. 7(1). 287-300.

สาคร สุขศรีวงศ. (2551). การจัดการ: จากมุมมองนักบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : จีพีไซเบอร์พรินท์.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2552). แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พ.ศ. 2553–2556. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สำนักงาน พระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.

Moorhead, Gregory & Griffin, Ricky W. (1995). Organizational behavior: Managing people and organization. 4th ed. Boston : Houghton Mifflin.
Published
2022-11-07
How to Cite
สิริโสภโณ, พระมหาปุ่น; , ดร., พระครูชัยรัตนากร. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำตามสถานการณ์กับการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 8, n. 1, p. 22-31, nov. 2022. ISSN 2730-2644. Available at: <http://202.29.86.169/index.php/jbpe/article/view/2431>. Date accessed: 23 nov. 2024.