การศึกษาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3

DIGITAL LEADERSHIP OF ADMINISTRATORS IN SCHOOLS UNDER KALASIN PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 3

  • นฤเบศ ไชยภักดี มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • คมสันทิ์ ขจรปัญญาไพศาล มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • รัชฎาพร งอยภูธร มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 จำแนกตามสถานภาพและขนาดของโรงเรียน และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่  ผู้บริหารโรงเรียน และครูหัวหน้างานสารสนเทศของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 จำนวน 398 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test


ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูหัวหน้างานสารสนเทศ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการสร้างวัฒนธรรมดิจิทัลและด้านการมีวิสัยทัศน์ดิจิทัลส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการสื่อสารดิจิทัลและด้านการรู้จักดิจิทัลตามลำดับ 2) การเปรียบเทียบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 ตามความคิดของ ผู้บริหารโรงเรียน  และครูหัวหน้างานสารสนเทศมีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกัน 3) ผลการเปรียบเทียบการเปรียบเทียบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์  เขต  3 ตามความคิดของ ผู้บริหารโรงเรียน  และครูหัวหน้างานสารสนเทศ ที่มีขนาดโรงเรียนต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน รายด้านและ โดยรวมไม่แตกต่างกัน 4) แนวทางการภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์  เขต  3ประกอบด้วย 1) ด้านการสื่อสารดิจิทัลผู้บริหารจะควรให้ ความสำคัญในการใช้สื่อเทคโนโลยีดิจิทัล พร้อมทั้งเรียนรู้และพัฒนาตัวเองอยู่เสมอเพื่อให้มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลา 2)ด้านการรู้จักดิจิทัลผู้บริหารจะควร ส่งเสริมให้ครูมีการพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อนำไปใช้ในการวัดผล ประเมินผล การจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนสนับสนุนเทคโนโลยีดิจิทัลให้เพียงพอต่อการใช้งานในโรงเรียนพร้อมทั้งจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัลและสร้างนวัตกรรมร่วมกับชุมชนในท้องถิ่น

References

จันทนา แสนสุข. (2559). ภาวะผู้นำ Leadership. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : บริษัท ทริปเพิ้ล กรุ๊ป จำกัด.

ณัฏฐณิชา พรปทุมชัยกิจ และคณะ. (2561). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ศรีสะเกษ ยโสธร. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. 15(2). 50-64.

ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ. (2551). หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

มาลัย วงศ์ฤทัยวัฒนา. (2562). แนวทางการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กยุคดิจิทัลสู่ความเป็นเลิศของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 14(1). 22-30.

เลอศักดิ์ ตามา. (2563). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงาน ระบบประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. นครพนม : มหาวิทยาลัยนครพนม.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2555). แนวคิด ทฤษฎี และประเด็นเพื่อการบริหารทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : ทิพยวิสุทธิ์.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2557). ภาวะผู้นำ: ทฤษฎีและนานาทัศนะร่วมสมัยปัจจุบัน. กรุงเทพฯ : ทิพย์วิสุทธิ์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. (2564). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2564. จาก http://web.kalasin3.go.th/web/view.php ?article_id=405

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. (2564). รายงานการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการฯ. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2564. จาก http://www.kalasin3.go.th/view.php?article_id=31203

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2564. จากhttps://www.obec.go.th/wp-contentuploads/2018/10/OBECPolicy62.pdf/

สุกัญญา รอดระกา. (2561). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในยุคไทยแลนด์ 4.0. กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สุนันทา สมใจ และวิชุดา กิจธรธรรม. (2561). การบริหารสถานศึกษาด้วยภาวะผู้นำทางเทคโนโลยี. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 12(1). 350-363.

อภิสิทธิ์ ทนคำดี. (2560). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. สกลนคร :มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2554). การบริหารและการปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ.

เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2559). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2564. จาก http://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/52232/-edu-t2sl-t2-t2s3-

Bandura, A. (1986). Social foundations of thought and action: A social cognitive theory. Englewood Cliffs. NJ : Prentice-Hall.

Sullivan, L. (2017). 8 Skills Every Digital Leader Needs. Retrieves 25 April 2021. Form https://www.cmswire.com/digital-workplace/8-skills-every-digital-leader-needs/
Published
2024-06-24
How to Cite
ไชยภักดี, นฤเบศ; ขจรปัญญาไพศาล, คมสันทิ์; งอยภูธร, รัชฎาพร. การศึกษาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 8, n. 1, p. 32-44, june 2024. ISSN 2730-2644. Available at: <http://202.29.86.169/index.php/jbpe/article/view/2432>. Date accessed: 23 nov. 2024.