แนวทางพัฒนาการเสริมสร้างพลังอำนาจครู กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพ การจัดการศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 11

THE GUIDELINES FOR THE TEACHER EMPOWERMENT DEVELOPMENT OF THE NETWORK SERVICE UNIT FOR PROMOTION OF EDUCATION MANAGEMENT EFFICIENCY, REGIONAL SPECIAL EDUCATION CENTER 11

  • ศุภธิดา ปสันตา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • จำเนียร พลหาญ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการเสริมสร้างพลังอำนาจครูของศูนย์การศึกษาพิเศษในกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มเครือข่าย 11 2) เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาการเสริมสร้างพลังอำนาจครู กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 11 การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ  ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการเสริมสร้างพลังอำนาจครูของศูนย์การศึกษาพิเศษในกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มเครือข่าย 11 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย  ผู้บริหารและครู จำนวน 174 คน  กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีเปิด ตารางของตาราง เครซี่ มอร์แกน และใช้การสุ่มอย่างง่าย ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางพัฒนาการเสริมสร้างพลังอำนาจครู กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 11 กลุ่มเป้าหมาย  ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน/สภาพที่พึงประสงค์  แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางพัฒนาการเสริมสร้างพลังอำนาจครู กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 11 สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าดัชนีความสอดคล้อง ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ค่าดัชนีความต่องการจําเป็นและการวิเคราะห์เนื้อหา  


ผลการวิจัยพบว่า  1) สภาพปัจจุบันของการเสริมสร้างพลังอำนาจครูของศูนย์การศึกษาพิเศษในกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มเครือข่าย 11 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง รายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดสามอันดับ ได้แก่ ด้านอิสระในการทำงาน ด้านความก้าวหน้าในอาชีพ ด้านการสร้างความไว้วางใจและสัมพันธภาพที่ดี สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด รายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดสามอันดับ ได้แก่  ด้านอิสระในการทำงาน ด้านการรับรู้ความสามารถของตนเอง ด้านความก้าวหน้าในอาชีพ 2)  แนวทางการพัฒนาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของหน่วยบริการ สำหรับเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 11 โดย มีทั้งหมด  6  องค์ประกอบ  ได้สรุปเป็นหลักสูตรการเสริมสร้างพลังอำนาจครูของศูนย์การศึกษาพิเศษในกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มเครือข่าย 11 ผลการประเมินหลักสูตร โดยรวมพบว่ามีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

References

กนิษฐา ทองเลิศ. (2563). รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนา
งานวิชาการของสถานศึกษา. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. 5(2). 533-548.

ณฐกร รักษ์ธรรม. (2558). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการเสริมสร้างพลังอำนาจ การทำงาน
ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคใต้. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2565. จาก http://e-journal.sru.ac.th/index.php/srj/article/ view/182

ตรียพล โฉมไสว. (2560).การเสริมสร้างพลังอำนาจสำหรับครูในศตวรรษที่ 2. Journal of Legal
Entity Management and Local Innovation. 6(1). 123-136.

ทัน ไทรงาม. (2560). องค์ประกอบของการบริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรถนะครูในโรงเรียน
สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่มภาคกลางและภาคตะวันออก. วิทยานิพนธ์
ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี.

ธัณย์สิตา สุรศิษฐ์ชานล. (2562). ปัจจัยการเสริมสร้างพลังอำนาจครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.
วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. 10(1). 830-843.

พรฐิตา ฤทธิ์รอด. (2556).รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานแบบเสริมพลังอำนาจ. วารสาร
ศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร. 15(1). 60-69.

พัชรมน คุ้มจินดา. (2562). การเสริมสร้างพลังอำนาจครูของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมฐานบิน
กำแพงแสน. วารสารการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร. 10(2). 281-292.

พัชราภรณ์ ธรรมมา. (2561). การเสริมสร้างพลังอำนาจครูของโรงเรียนราชวินิตบางแก้ว จังหวัด
สมุทรปราการ. การศึกษาค้นคว้าอิสระศึกษาศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ไพศาล วรคำ. (2562). การวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 11. มหาสารคาม : ตักสิลาการพิมพ์.

ภูวไนย สุนา. (2563). การเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานของครู. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์.
20(4). 155-164.

มณฑ์ธวัล วุฒิวิชญานันต์. (2556). พลังอำนาจการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มัธยมศึกษา เขต 5. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยขอนแกน.
7(4). 220-227.

ยุพิน ภูมิช่วง. (2562). การพัฒนาแนวทางเสริมสร้างพลังอำนาจครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย :
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศศิวรรณ อินทรวงศ์. (2560). อิทธิพลระหว่างการรับรู้ความสามารถในตนเอง การรับรู้ลักษณะงาน
ที่ตนปฏิบัติและคุณภาพชีวิตที่ดีในการทำงานที่มีต่อผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษากลุ่มใหม่. การศึกษาค้นคว้าอิสระศึกษาศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ศักดิ์ดา คำโส. (2560). การพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจทีมงานในสถานศึกษาขั้น
พื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 11(1) 170-182.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2551). พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ : สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการ
ศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ.2560 – 2564. กรุงเทพฯ : สำนักงานปลัดกระทรวง
เกษตรและสหกรณ์.

สำนักงานเลขาการสภาการศึกษา. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542
(ฉบับที่ 2) และที่แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ : บริษัทสยามสปอรต์ ซินดิเค จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579.
กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2561). คู่มือการปฏิบัติงานของศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ :
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

สุริยา หึงขุนทด. (2563). กระบวนทัศน์การเสริมสร้างพลังอำนาจครูในสถานศึกษา: พหุกรณีศึกษา
จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

เอกพล พันธุ์โชติ. (2560). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมิติการเสริมสร้างพลังอำนาจครูกับ
ความผูกพันต่อองค์กรของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
Published
2023-02-14
How to Cite
ปสันตา, ศุภธิดา; พลหาญ, จำเนียร. แนวทางพัฒนาการเสริมสร้างพลังอำนาจครู กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพ การจัดการศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 11. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 8, n. 1, p. 239-254, feb. 2023. ISSN 2730-2644. Available at: <http://202.29.86.169/index.php/jbpe/article/view/2450>. Date accessed: 23 nov. 2024.