การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการในยุควิถีใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3

THE DEVELOPMENT OF GUIDELINES FOR ACADEMIC OF NEW NORMAL UNDER THE JURISDICTION OF OFFICE OF MAHASARAKHAM PRIMARY EDUCATION SERVICE AREA 3

  • นงนุช ชะมะที คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ลักขณา สริวัฒน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และ ความต้องการจำเป็นของการบริหารงานวิชาการในยุควิถีใหม่ 2) ออกแบบ สร้าง และประเมินแนวทางการบริหารงานวิชาการในยุควิถีใหม่ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูหัวหน้างานวิชาการ จำนวน 166 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทาง สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและดัชนีความต้องการจำเป็น


ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของการบริหารงานวิชาการในยุควิถีใหม่โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานวิชาการในยุควิถีใหม่โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาแนวทางเรียงลำดับมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษาในยุควิถีใหม่ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาในยุควิถีใหม่ ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในยุควิถีใหม่ และด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในยุควิถีใหม่ 2. แนวทางการบริหารงานวิชาการในยุควิถีใหม่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 โดยการพัฒนาด้วยวงจรคุณภาพเดมมิ่ง ตามขอบข่ายการบริหารงานวิชาการทั้ง 4 ด้าน นำไปสู่การวางแผนผ่านช่องทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การจัดกระบวนการ ตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผลผ่านรูปแบบออนไลน์ นำผลการประเมินมาวิเคราะห์เพื่อพัฒนาระบบให้ดียิ่งขึ้น สามารถปรับใช้ในการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาให้สอดคล้องกับยุควิถีใหม่ ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทาง พบว่าความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

References

ชัยยุทธ บุญเติม. (2564). แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษา อำเภอพิบูลมังสาหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษาอุบลราชธานี เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มารุต พัฒผล. (2557). การจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างการรู้คิด และความสุขในการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

รังสรรค์ พรมมา. (2563). แนวทางการบริหารสำหรับการจัดการศึกษาในวิถีการเรียนรู้ใหม่ (New Normal) ในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงใหม่ เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3. (2564). รายงานการสังเคราะห์ รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2565. จาก http://www.mkarea3.go.th

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). ประสิทธิภาพการบริหารงานโรงเรียน ประถมศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

Deming, E.W. (1995). Out of the Crisis. Cambridge : Massachusetts Institute of
Technology.

Everard, B. and Morris, G. (1990). Effective school management. 2nd ed. London : Hollen Street Press.

Goodman, R. and others. (2003). Using the Strengths and Difficulties Questionnaire (SDQ) to Screen for Child Psychiatric Discipline in a Community Samples. Dissertation Abstracts International. 65(10). 11178-A.

Joseph, K. (2012). Academic Optimism and Community Engagement in USA Schools. Journal of Educational Management. 26(5). 77-78.

Misty, M.K.. (2007). Academic Optimism and Community Engagement in Urban Schools. Journal of Educational Administration. 49(5). 542-562.

Smith, P.A.. (2007). Academic Optimism and Student Achievement in Urban Elementary Schools. Journal of Educational Administration. 45(5). 556–568.
Published
2023-03-24
How to Cite
ชะมะที, นงนุช; สริวัฒน์, ลักขณา. การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการในยุควิถีใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 8, n. 1, p. 363-374, mar. 2023. ISSN 2730-2644. Available at: <http://202.29.86.169/index.php/jbpe/article/view/2459>. Date accessed: 23 nov. 2024.