ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการครองคนในองค์กร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3
THE STUDY OF EMOTIONAL INTELLIGENCE OF SCHOOL ADMINISTRATORS THAT DOMINATION OF PEOPLE IN THE ONGANIZATION UNDER THE SURAT THANI EDUCATIONL SERVICE AEA OFFICE 3
Abstract
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาระดับการครองคนของผู้บริหารสถานศึกษาในองค์กร 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับครองคนในองค์กร และ 4) เพื่อค้นหาตัวพยากรณ์ที่ใช้ในการพยากรณ์ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการครองคนในองค์กรสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูและบุคลากรในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 จำนวน 320 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson Correlation Coefficient)ค่าการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 3 มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ระดับการครองคนในองค์กรสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 มีค่าเฉลี่ยโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับการครองคนในองค์กรสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 3 พบว่าโดยรวม มีความสัมพันธ์กันในระดับมากที่สุด (RXY) .726 และมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ตัวแปรที่มีอำนาจพยากรณ์ที่ดีที่สุดคือ ด้านการตระหนักรู้อารมณ์ตนเองโดยมีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยการพยากรณ์ (β=.311, t=1.569, p-value=.00) ด้านการรับรู้ความรู้สึกผู้อื่น (β=.679, t=32.752, p-value =.00) ผลต่อการครองคนในองค์กรอย่างมีนัยทางสถิติที่ระดับ .01
References
ทรงศิริ ยุทธวิสุทธิ. (2565). EQ กับความสำเร็จในชีวิต. สืบค้นเมื่อ 6 ธันวาคม 2565. จาก http://www.natres.psu.ac.th/Journal
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551). สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
พระราชชัยกวี (ภิกขุพุทธทาส อินทปัญโญ). (2546). ธรรมกถาในโอกาสพิเศษ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์.
พิมใจ วิเศษ. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูอำเภอบ้านนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีธัญบุรี.
พิสณุ ฟองศรี. (2550). วิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : พรอพเพอตี้พริ้นท์.
ภัคสกุล นาคจู. (2557). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอารมณ์ Introduction to Emotion. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภัคสุภรณ์ การพิมพ์.
สุภาวดี วุฒิรัตน์. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษากกับการดำเนินงานด้านบุคคลของสถานศึกษาอำเภอไทรน้อยสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อุไรวรรณ ชูมี. (2561). การศึกษาความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ ของครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.