การตรวจสอบความเที่ยงตรงของรูปแบบการประเมินสมรรถนะการพัฒนานวัตกรรม การจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้เทคนิคกลุ่มรู้ชัด
VALIDATE EVALUATION MODEL FOR EVALUATE TEACHER'S LEARNING MANAGEMENT INNOVATION DEVELOPMENT COMPETENCIES UNDER THAILAND OFFICE OF THE BASIC EDUCATION COMMISSION BY KNOWN GROUP TECHNIQUE
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยพัฒนารูปแบบการประเมินสมรรถนะการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการตรวจสอบความเที่ยงตรงของรูปแบบการประเมินสมรรถนะการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะ ระยะแรกศึกษาองค์ประกอบ ตัวชี้วัด และแนวทางการประเมินสมรรถนะการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู โดยการสังเคราะห์เอกสาร สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 6 คน และวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ของครู จำนวน 1,081 คน ระยะที่สองพัฒนารูปแบบการประเมินสมรรถนะการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู และประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ของรูปแบบ โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน และระยะที่สามตรวจสอบความเที่ยงตรงของรูปแบบ โดยใช้เทคนิคกลุ่มรู้ชัด จำแนกเป็นกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำกลุ่มละไม่ต่ำกว่า 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ รูปแบบประเมินสมรรถนะการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การวิเคราะห์จำแนกกลุ่ม (Discriminant Analysis) โดยการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงจำแนก (Discriminant validity)
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการประเมินสมรรถนะการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นรูปแบบที่ใช้แนวคิดการประเมินเพื่อตัดสินคุณค่าโดยใช้วิธีเชิงธรรมชาติ มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ การริเริ่มสร้างสรรค์ มี 13 ตัวชี้วัด การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ มี 15 ตัวชี้วัด และการบูรณาการการเรียนรู้ มี 14 ตัวชี้วัด รวมทั้งหมด 42 ตัวชี้วัด โดยครูเป็นผู้ประเมินตนเอง และใช้เกณฑ์ตัดสินคุณค่าตามแนวคิดปรัชญาอัตนัยนิยม รูปแบบมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก ความเที่ยงตรงเชิงจำแนกของรูปแบบสามารถจำแนกสมรรถนะการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูกลุ่มสูงได้ถูกต้องร้อยละ 100 และสามารถจำแนกสมรรถนะการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูกลุ่มต่ำได้ถูกต้องร้อยละ 97.22 โดยรวมสามารถจำแนกสมรรถนะการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูได้ถูกต้องร้อยละ 98.50
References
ไพศาล วรคำ. (2564). การวิจัยทางการศึกษา (Educational research). พิมพ์ครั้งที่ 11. มหาสารคาม : ตักสิลาการพิมพ์.
รัตนะ บัวสนธ์. (2552). วิจัยเชิงคุณภาพทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2545). ทฤษฎีการประเมิน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2562). ทฤษฎีการประเมิน. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Eisner, E.W. (1975). The Perceptive Eye: Toward the Reformation of Educational Evaluation. Stanford, CA : Stanford Evaluation Consortium, December.
Eisner, E.W. (1979). The Educational Imagination. New York : Macmilan.
Lincoln, Y. S., & Guba, E. G. (1985). Naturalistic inquiry. Beverly Hills, CA : Sage.
Patton, M. Q. (1980). Qualitative evaluation methods. Beverly Hills, CA : Sage.
Patton, M. Q. (1987). Practical evaluation. Beverly Hills, CA : Sage.
Stake, R. E. (1975). Program evaluation: Particularly responsive evaluation. Kalamazoo, MI : Western Michigan University Evaluation Center.