ลักษณะความโกรธความโกรธในพระไตรปิฎก

  • พระครูปราโมทย์สีลคุณ - มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Abstract

            ความโกรธ มีความหมาย มาจากศัพท์ภาษาบาลีว่า โกธ แปลว่า ความกำเริบ ความขุ่นเคือง  ในจิตใจ มีศัพท์ที่ใช้เหมือนกับความโกรธ คือ โทสะ คือความรู้สำนึกคิดประทุษร้าย ความโกรธ มีความดุร้ายและเป็นลักษณะเหมือนกันกับอสรพิษที่ถูกตี  มีความพลุ่งพล่านเป็นรสเปรียบเหมือนกันกับยาพิษที่ใส่ลงไปในแม่น้ำ เปรียบเหมือนกันกับไฟป่าที่กำลังเผาป่าให้ไหม้ เหตุที่ทำให้เกิดความโกรธนั้นมี 5 ประการ คือ 1) มีโทสะเป็นอัธยาศัยมาแต่กำเนิด 2) มีความคิดไม่ละเอียด ไม่ลึกซึ้งเป็นปกติ 3) มีการศึกษามีการสดับรับฟังน้อย เมื่อมีอารมณ์อะไรเกิดขึ้นมา 4) ได้ประสบกับอารมณ์ที่ไม่ดีอยู่ในเนืองๆ คือ อนิฏฐารมณ์ และ 5) อารมณ์ที่ไม่น่าใคร่ น่าพอใจ ไม่น่าชอบใจ เช่น รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ ได้ประสบกับอาฆาตวัตถุ 10 ประการ

Published
2018-12-31
How to Cite
-, พระครูปราโมทย์สีลคุณ. ลักษณะความโกรธความโกรธในพระไตรปิฎก. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 2, n. 3, p. 49-64, dec. 2018. ISSN 2730-2644. Available at: <http://202.29.86.169/index.php/jbpe/article/view/878>. Date accessed: 26 nov. 2024.
Section
Academic Article