การลงโทษประหารชีวิตต่อฆาตกรทางเพศสะเทือนขวัญ

  • เต ฉิมหลวง เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ เรือนจำจังหวัดกาฬสินธุ์
  • ประพิศ โบราณมูล มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • สุวนันท์ เฉลยพจน์ โรงเรียนบ้านเปลือยน้อย(คุรุรัฐประชาสามัคคี)

Abstract

           บทความนี้ ผู้เขียนได้เขียนขึ้นภายใต้ผลจากการวิจัยเรื่อง “การเมืองเรื่องโทษประหารชีวิต” ซึ่งได้ศึกษาตามประเด็นปัญหาและเงื่อนไขต่างๆ ต่อสถานการณ์ปัจจุบันของโทษประหารชีวิตในประเทศไทย ที่ถูกพันธนาการในอำนาจของการบังคับใช้โทษนี้ระหว่าง รัฐ และสังคม โดยมีปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้องในเรื่องการใช้อำนาจบังคับโทษนี้ ทั้งปัจจัยจากภายในประเทศที่ส่วนใหญ่ยังต้องการให้โทษประหารชีวิตคงอยู่ และปัจจัยจากภายนอกประเทศ ที่ขอให้ประเทศไทยยกเลิกโทษประหารชีวิต แต่ตามเจตจำนงของสังคมไทยส่วนใหญ่ที่ยังต้องการให้รัฐปฏิบัติการเด็ดขาดต่อโทษประหารชีวิตกับฆาตกรโหดร้ายที่ไปพรากชีวิตผู้อื่น  ด้วยเห็นว่าเป็นโทษเดียวที่ยังมีความยุติธรรมต่อเหยื่อซึ่งฆาตกรควรจะได้รับเช่นกัน ทั้งนี้การที่สังคมไทยยังเห็นว่าโทษจำคุกในปัจจุบันก็ยังไม่ได้สร้างความเชื่อมั่น ไม่ยุติธรรมเพียงพอซึ่งเป็นมิติที่ผู้เขียนได้นำมาเป็นประเด็นในการเขียนบทความในครั้งนี้  ดังนั้น หลักการแก้ไข ฟื้นฟู และการพัฒนาพฤตินิสัยฆาตกรกลุ่ม “ฆาตกรทางเพศสะเทือนขวัญ” จึงไม่ควรได้รับโอกาสตามหลักการลงโทษของอาชญาวิทยาและทัณฑวิทยาสมัยใหม่ และผลจากการวิจัยในเรื่องดังกล่าวยังเสนอเงื่อนไขให้อีกว่า จะไม่ปฏิบัติการประหารชีวิตฆาตกรทั้ง 3 ราย ดังกล่าวก็ได้แต่ต้องจำคุกตลอดชีวิตจริงๆ หรือจำคุกให้นานที่สุด โดยไม่มีการลดหย่อนผ่อนโทษ จนเขาหมดศักยภาพที่จะออกมาก่ออาชญากรรมได้อีกเพราะเห็นว่าพวกเขาเป็นอาชญากรโดยอาชีพที่แก้ไขไม่ได้แล้วและมีพฤติกรรมโหดร้าย ทารุณเกินกว่าจะให้อภัยให้โอกาส 

References

กองพัฒนาพฤตินิสัย. (2554). อาชญากรกับทฤษฎีการประทับตรา. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2563. จาก http://br.correct.go.th/br_wp/?p=24

ณัฐฐวัฒน สุทธิโยธิน. (2553). ทฤษฎีอาชญาวิทยา. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2560. จาก http://law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-5.pdf

เต ฉิมหลวง. (2562). การเมืองว่าด้วยเรื่องประหารชีวิต. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา รัฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ไทยรัฐออนไลน์. (2559). คุกตลอดชีวิต ‘หนุ่ย-ติ๊งต่าง’ ฆาตกรต่อเนื่อง คดีชำเรา-ฆ่า ด.ญ.4 ขวบที่เลย. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2563. จาก https://www.thairath.co.th/content/568296

ไทยรัฐออนไลน์. (2563). สรุปภาคต่อ “ไอซ์หีบเหล็ก” ฆ่าปีละศพ โป๊ะแตกเพราะโม้ เซ่นไหว้ ท้าทายจากในคุก. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2563. จาก https://www.thairath.co.th/news/local/ bangkok/1758585

นัทธี จิตสว่าง. (2542). หลักทัณฑวิทยา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ราชทัณฑ์.

โพสต์ทูเดย์. (2563). “เสือโหย” ถูกจับแล้ว เผยฉายาได้มาวัยเด็ก ชอบขโมย. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2563. จาก https://www.posttoday.com/social/local/613142

TNN online. (2562). ย้อนรอย 'สมคิด พุ่มพวง' ฆาตกรต่อเนื่อง จากปี 48-62. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2563. จาก https://www.tnnthailand.com/content/24107

Jean Gabriel Tarde, 1954 1843-1904. Pioneers in Criminology. Journal of Criminal Law & Criminology. 45(1). 3-11.
Published
2020-10-21
How to Cite
ฉิมหลวง, เต; โบราณมูล, ประพิศ; เฉลยพจน์, สุวนันท์. การลงโทษประหารชีวิตต่อฆาตกรทางเพศสะเทือนขวัญ. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 4, n. 2, p. 74-91, oct. 2020. ISSN 2730-2644. Available at: <http://202.29.86.169/index.php/jbpe/article/view/881>. Date accessed: 26 nov. 2024.
Section
Academic Article