ความคิดเห็นของครูต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในศตวรรษที่ 21 : กรณีศึกษาโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 ในเขตเทศบาลอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
Teacher’s Opinions Toward the Leadership of Secondary School Administrators in the 21st Century : A Case Study of Schools Under the Secondary Educational Service Area Office 29 in Municipality Muang District, Ubon Ratchathani Province
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในศตวรรษที่ 21 : กรณีศึกษาโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 ในเขตเทศบาลอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ประชากรในการศึกษา คือ ครูสายผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 209 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลจะทำการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์คำนวณหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่า t-test และค่า F-test
ผลการวิจัยพบว่า 1. ความคิดเห็นของครูต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาโดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมากเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านความสามารถในการสื่อสาร ด้านความสามารถในการแก้ปัญหา ด้านเป็นผู้มีความเชื่อมั่นในตนเอง ด้านธรรมาภิบาล ด้านวิสัยทัศน์ ด้านเป็นผู้มีความมุ่งมั่นต่อความสำเร็จของงาน 2. ครูที่มี เพศ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน และประสบการณ์ทำงาน ต่างกันมีความคิดเห็นโดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
References
ชรินรัตน์ แผงดี. (2551). การนำเสนอรูปแบบการบริหารด้วยหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนบึงพิมพาสามัคคี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต 2. นครสวรรค์ :มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
ธงชัย สันติวงษ์. (2550). พฤติกรรมองค์การ: การศึกษาการบริหารพฤติกรรมองค์การเชิงบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
นิภา อำไพวรรณ พลูสุข หงคานนท์ และปกรณ์ ประจัญบาน. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำกับการสร้างแรงจูงใจของหัวหน้าหอผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลพุทธชินราชพิษณุโลก. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ. 5(3). 65-79.
พิเชษฐ์ วงศ์เกียรติขจร. (2553). ผู้นำการบริหารยุคใหม่. กรุงเทพฯ : ปัญญาชน.
มานิต บุญประเสริฐ และคณะ. (2549). รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาภาวะผู้นำในระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
วีระวัฒน์ ปันนิตามัย. (2549). ผู้นำการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ : ธนาเพรส แอนด์ กราฟฟิค.
Avolio, J. & Bernard M. (1999). Transformational leadership, charisma, and beyond. CA : Sage.
Boone, L. E. & Kurtz, D. L. (1989). Contemporary Marketing. 6th ed. Hinsdale : The Dryden Press.
Bryman, A. (2007). The Research Question in Social Research: What is its Role? Int. Journal Social Research Methodology. 10(1). 5-20.
Eden, D. and Shani, A. B. (2004). Pygmalion goes to boot camp : Expectancy, leadership and trainee performance. Journal of Applied Psychology. 67. 194–199.
Lussier, Robert N., and Christopher F. Achua. (2004). Leadership: theory, application, b skill development. Mason, Ohio : Thomson/South-Western.
Robert. (2005). Relationships between measures of leadership and climate. Nevada : University of Nevada press.