การพัฒนาทักษะสมอง EF ด้วยคู่มือการจัด 6 กิจกรรมหลัก สำหรับเด็กปฐมวัยในโรงเรียนเอกชน
A Development of Brain Skill, EF (Executive Functions) with a6 Main Activities Handbook for Early Childhood in Private Schools
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อสร้างและพัฒนาคู่มือการจัด 6 กิจกรรมหลักให้ครูนำไปใช้พัฒนาทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย 2)เพื่อศึกษาผลการใช้คู่มือการจัด 6 กิจกรรมหลักของครู เพื่อนำไปใช้พัฒนาทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัย และ 3)เพื่อศึกษาผลการพัฒนาทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนระดับปฐมวัยในโรงเรียนเอกชน จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1)คู่มือการจัด 6 กิจกรรมหลักเพื่อพัฒนาทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย 2)แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจของครูในการจัด 6 กิจกรรมหลักเพื่อพัฒนาทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัยตามคู่มือ และ 3)แบบประเมินทักษะสมอง EF 9 ด้านของเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า 1. คู่มือการจัด 6 กิจกรรมหลักที่ผู้วิจัยสร้างและพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน E1/E2เท่ากับ 78.89/78.75 2. ผลการใช้คู่มือการจัด 6 กิจกรรมหลักของครูเพื่อนำไปใช้พัฒนาทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัย หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3. ผลการศึกษาการพัฒนาทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัยทั้ง 9 ด้าน พบว่า เด็กชั้นอนุบาล ปีที่ 1 มีทักษะสมอง EF ทั้ง 9 ด้านโดยรวมอยู่ระหว่างร้อยละ 88.57 ถึงร้อยละ 94.21 เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีทักษะสมอง EF ทั้ง 9 ด้านโดยรวมอยู่ระหว่างร้อยละ 71.82 ถึง ร้อยละ 81.82 เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีทักษะสมอง EF ทั้ง 9 ด้านโดยรวมอยู่ระหว่างร้อยละ 94.44 ถึง ร้อยละ 97.78
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 (สำหรับเด็กอายุ 3 – 6 ปี). กรุงเทพฯ : สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
ขวัญฟ้า รังสิยานนท์ และคณะ. (2562). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างทักษะสมอง-อีเอฟ สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในโรงเรียนเครือข่าย มหาวิทยาลัยสวยดุสิตกรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.
นันทา โพธิ์คำ. (2556). การศึกษาความรู้ความเข้าใจของนักศึกษาโดยใช้ชุดฝึกการเขียนแผนการจัดประสบการณ์. ร้อยเอ็ด : มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด.
นิคม สุวพงษ์. (2561). การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยการประยุกต์ใช้หลักธรรมอริยสัจสี่สัมพันธ์กับโครงงานคุณธรรมนักเรียน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พัชระ พุ่มพชาติ. (2552). การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พิริยะ โม้แพง. (2557). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมคุณธรรมจริยธรรมโดยใช้ไตรสิกขาเป็นฐาน. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
มะลิวัน สมศรี และคณะ. (2558). การพัฒนาคู่มือพัฒนาสมรรถนะทางวิชาการของครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 9(พิเศษ). 542-577.
วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2544). การวิจัยทางการศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ : สุวีวิยาสาส์น.
ศักดิ์ชัย ใจซื่อตรง. (2561) การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ศิลปะที่ส่งเสริมทักษะการจัดการ สมอง (EF) สำหรับเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักนายกรัฐมนตรี, สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 – 2564. กรุงเทพฯ :สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
อรทัย บุญเที่ยง. (2562). ผลการศึกษาการบูรณาการจัดการเรียนรู้ทักษะทางสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ (Executive Function: EF) ของครูผู้ดูแลเด็กในเขตพื้นที่กำแพงเพชร. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.