การศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อกระบวนการนิเทศการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม สาขาวิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Student’s Opinions to Instructional Process of Field Experience Specification of Program in Government Mahamakut Buddhist University Roi Et Campus

  • อดิศักดิ์ ทุมอนันต์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Abstract

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อกระบวนการนิเทศการฝึกภาคสนาม สาขาวิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด 2)เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะแนวทางกระบวนการนิเทศการฝึกภาคสนาม สาขาวิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาฝึกประสบการณ์ภาคสนาม สาขาวิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด จำนวน  33 รูป-คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


           ผลการวิจัยพบว่า 1)ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อกระบวนการนิเทศการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม สาขาวิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด โดยรวมทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับมาก 2)ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกระบวนการนิเทศการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม สาขาวิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด เรียงลำดับตามจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ควรมีการแนะนำกระบวนการการนำเสนอผลการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม เพื่อรับฟังปัญหา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เพื่อนำไปสู่การพัฒนากระบวนการการฝึกประสบการณ์ภาคสนามในปีต่อไป รองลงมา คือ ควรมีการแนะนำการเขียนบันทึกรายงานการปฏิบัติงานประจำสัปดาห์เพื่อให้เกิดความถูกต้องตามกระบวนการ และน้อยสุด คือ ควรมีการแนะนำระยะเวลาในการส่งให้นักศึกษาทราบก่อนกำหนดเพื่อให้เขียนรายงานฉบับสมบูรณ์และนำส่งตามระยะเวลาที่กำหนด และควรมีการแจ้งผลการประเมินการปฏิบัติงานแก่นักศึกษาทราบตามระยะเวลาที่กำหนด

References

คณะสังคมศาสตร์ ภาควิชารัฐศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. (2560). คู่มือการแกประสบการณ์ภาคสนาม Field Experience Specification (SO2141) หลักสูตร รัฐคาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559). ภาควิชารัฐศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

ธีรวุฒิ เอกะกลุ. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี : สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.

เบญญาภา กาลเขว้า. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณสมบัติส่วนบุคคลและการทำงานเป็นทีม ในระหว่างฝึกปฏิบัติงานภาคสนาม 2 (โครงการพัฒนาสุขภาพชุมชนแบบมีส่วนร่วม) กับความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์(สาธารณสุขชุมชน) รุ่นที่ 77 ปีการศึกษา 2551 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น. วารสารทันตาภิบาล. 22(2). 22-30.

วรเชษฐ์ โทอื้น. (2560). การศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอนของสาขาวิชารัฐศาสตร์การปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร. สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์. 17(1). 99-115.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

สุภัค วงษ์วรสันต์. (2562). การประเมินผลการฝึกปฏิบัติวิชาชีพทันตสาธารณสุขภาคสนามของนักศึกษา หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี. วารสารสหวิชาการเพื่อสุขภาพ. 1(2). 91-101.
Published
2021-12-21
How to Cite
ทุมอนันต์, อดิศักดิ์. การศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อกระบวนการนิเทศการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม สาขาวิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 6, n. 1, p. 229-239, dec. 2021. ISSN 2730-2644. Available at: <http://202.29.86.169/index.php/jbpe/article/view/1829>. Date accessed: 26 nov. 2024.
Section
Research Article