พระวินัยปิฎกแนวคิดการปกครองแบบธรรมาธิปไตยของพุทธศาสนา
Vinaya Pitaka, the Concept of Dharmadhiracism of Buddhism
Abstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ของการเขียนเพื่อนำเสนอการปกครองในพระวินัยปิฎกเป็นรูปแบบของการปกครองแบบธรรมาธิปไตยในพระพุทธศาสนา ผลการศึกษาพบว่า การปกครองในโลกนี้มีรูปแบบการปกครองอยู่สามระบอบ คือ 1)อัตตาธิปไตย คือการปกครองโดยมีผู้ปกครองสูงสึดคนเดียว 2)โลกาธิปไตย คือการปกครองที่ยึดถือเสียงส่วนมากในการปกครองสูงสุด และ 3)ธรรมาธิปไตย คือ การปกครองที่ถือธรรมะหรือความถูกต้องในการปกครองสูงสุด ซึ่งธรรมาธิปไตยนี้เป็นการปกครองที่พระพุทธเจ้าทรงใช้ปกครองสังคมสงฆ์มาตลอดตั้งแต่หลังจากตรัสรู้และออกประกาศศาสนาและมีผู้ศรัทธาออกบวชตาม แต่ธรรมาธิปไตย เริ่มเป็นรูปแบบเป็นระบอบการปกครองอย่างเห็นได้ชัดก็เมื่อพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติ ปาราชิกสิกขาบทที่ 1 เพื่อรักษาธรรมะและรักษาระบอบการปกครองแบบธรรมาธิปไตยให้อยู่คู่กับสังคมสงฆ์ตลอดไป จะเห็นได้จากวัตถุประสงค์หรือเหตุผลในการบัญญัติพระวินัยของพระองค์นั้นเอง
References
พระเทพดิลก (ระแบบ ฐิตญาโณ). (2550). ศาสนากับธรรมนูญ. กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย.
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2548). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์. กรุงเทพฯ : สำนักเลี่ยงเชียง.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2543). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระศรีปริยัติโมลี (สมชัย กุสลจิตฺโต). (2547). พุทธศาสตร์ร่วมสมัย 1. กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พุทธทาสภิกขุ. (2541). การเมืองคือธรรมะ. กรุงเทพฯ : อรุณวิทยา.
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. (2525). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย พิมพ์เนื่องในวโรกาสครบ 200 ปี แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พุทธศักราช 2525. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2541). พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.