การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
DEVELOPMENT THE MORAL AND ETHICS FOR STUDENTS IN WIENGSA-AT PITTAYAKHOM SCHOOL, INSTITUTES OF THE LOCAL ADMINISTRATIVE ORGANIZATIONS
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาสภาพการปฏิบัติด้านคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม 2)เพื่อศึกษาผลการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพการปฏิบัติด้านการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม กลุ่มผู้ร่วมวิจัยและสอบถามกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 42 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 ศึกษาผลการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การพัฒนาการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และขั้นตอนที่ 2 คือ การประเมินผลการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการปฏิบัติด้านคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนที่พัฒนา ประกอบด้วย ด้านความรับผิดชอบ ด้านความซื่อสัตย์ ด้านความมีระเบียบวินัย อยู่ในระดับปานกลาง 2. ผลการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนในภาพรวมหลังการพัฒนามีพฤติกรรมการปฏิบัติในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เพิ่มขึ้นจากภาพรวมก่อนการพัฒนาที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง
References
กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2553). คู่มือการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.
โกสินทร์ กุระดี. (2553). การเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองแปน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
จิตรา ทองเกิด. (2542). กิจกรรมที่จัดในโรงเรียน. วารสารวิชาการ. 10(3). 15.
ชำเลือง วุฒิจันทร์. (2524). หลักการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมแก่นักเรียน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.
ทัศนีย์ ผลเนืองมา และคณะ. (2547). การวิจัยรูปแบบของการจัดประสบการณ์เพื่อปลูกฝังจริยธรรมแก่เด็กนักเรียนด้วยการสอนเป็นคณะ. กรุงเทพฯ : โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยฝ่ายประถม.
ธานินทร์ กรัยวิเชียร. (2550). คุณธรรมและจริยธรรมของผู้บริหาร. กรุงเทพฯ : สานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.
ไพรีย์ บุญศรี. (2551). การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนคาม่วงจรัสวิทย์ อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
รัตนา กรวงศ์ศรี และคณะ. (2550). การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนนักเรียนนักศึกษาของโรงเรียนลำปางพาณิชยการและเทคโนโลยีจังหวัดลำปาง. ลำปาง : โรงเรียนลำปางพาณิชยการและเทคโนโลยีจังหวัดลำปาง.
โรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม. (2563). รายงานสภาพปัญหาและพฤติกรรมของนักเรียนประจำปีการศึกษา 2563. มหาสารคาม : ฝ่ายปกครอง โรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม.
ละม่อม เจริญบุญ. (2553). การศึกษาการดาเนินงานแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สถาพร มาลีเวชพงษ์. (2517). การวิเคราะห์พฤติกรรมการเรียนการสอนศีลธรรมชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัยวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร.
สมพงษ์ จิตระดับ. (2547). คุณลักษณะและวิธีการเรียนรู้ของเยาวชนรุ่นใหม่. กรุงเทพฯ : สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดร เขต 1. (2555). คู่มือแนวทางการจัดกิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมในสถานศึกษา. อุดรธานี : กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดร เขต 1.
สุภาพร สุขสวัสดิ์. (2558). การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนสตรีนนทบุรี. การค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยศิลปากร.