การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานที่ส่งผลต่อมโนทัศน์ด้านทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง หินและการเปลี่ยนแปลงของโลก ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

PROBLEM-BASED LEARNING MANAGEMENT THAT AFFECTS CONCEPT OF SCIENTIFIC PROCESS SKILLS AND LEARNING ACHIEVEMENTS ON ROCKS AND WORLD CHANGES OF PRATOMSUKSA SIX STUDENTS

  • สุรีพรรณ สินพูน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • มนตรี วงษ์สะพาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Abstract

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องหินและการเปลี่ยนแปลงของโลกของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องหินและการเปลี่ยนแปลงของโลก ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อเปรียบเทียบมโนทัศน์ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่จัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน กับเกณฑ์ร้อยละ 75 4) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่จัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานกับเกณฑ์ร้อยละ 75 โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านนาสะโนอำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร จำนวนนักเรียน 20 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือในการวิจัยในครั้งนี้มี 3 ประเภท ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องหินและการเปลี่ยนแปลงของโลก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 8 แผน เป็นเวลา 16  ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 3) แบบวัดมโนทัศน์ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือกจำนวน 30 ข้อสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย                ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


           ผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องหินและการเปลี่ยนแปลงของโลกของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.83/84.08 2. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้แบบแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องหินและการเปลี่ยนแปลงของโลก ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  มีค่าเท่ากับ 0.6678 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 66.78 3. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน มีมโนทัศน์ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เฉลี่ยเท่ากับ 25.15 คิดเป็นร้อยละ 83.83 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.75 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือ ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เฉลี่ยเท่ากับ 25.30  คิดเป็น ร้อยละ 84.33  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.86 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือ ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


 

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2554. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุครุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2562). กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

จุฑาทิพย์ ทิพเนตร. (2560). ศึกษาการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน วิชาวิทยาศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชวลิต ชูกำแพง. (2551). การพัฒนาหลักสูตร. มหาสารคาม : ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ทิวา ประภาชื่นชม. (2563). การพัฒนามโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 ด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ตามแนวทางของ Borich และคณะ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปัญญาพร ชัยบุรี. (2556). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจิตวิทยาศาสตร์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญากับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเรื่องสารในชีวิตประจำวัน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สมนึก ภัททิยธนี. (2544) . การวัดผลการศึกษา. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.

สมนึก ภัททิยธนี. (2553). การวัดผลการศึกษา. มหาสารคาม : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.

สุวิษา ไกรฉวี. (2560). พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้แบบโครงงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อรนุช ดมหอม. (2556). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดแก้ปัญหาและเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Delisle. (1997). How to Use Problem–Based Learning in the Classroom. Alexandria VA : Association for Supervision and Curriculum Development.

Fairbrother, J. (1989). Fundamentals of vehicle bodywork. London : Hutchinson.

Hmelo, C.E. &Evensen, D.H. (2000). Introduction Problem –Based Learning: Gaining Insights on Learning Interactions Through Multiple Methods of Inquiry. Problem–Based Learning A Research Perspective on Learning Interactions. Lawrence Erlbaum Associates.

Millar&Driver. (1987). The Effects of Small Group Cooperation Methods and Question Strategies on Problem Solving Skills, Achievement and Attitude During Problem-Based Learning. Dissertation Abstracts International. 14. 33–62.

Tamir. (1983). Inclusion and Problem-Based Learning Roles of Students in a Mixed-ability Group. Research in Middle Level Education. Dissertation Abstracts International. 67(5). 657-672.
Published
2022-06-06
How to Cite
สินพูน, สุรีพรรณ; วงษ์สะพาน, มนตรี. การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานที่ส่งผลต่อมโนทัศน์ด้านทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง หินและการเปลี่ยนแปลงของโลก ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 7, n. 1, p. 335-347, june 2022. ISSN 2730-2644. Available at: <http://202.29.86.169/index.php/jbpe/article/view/2128>. Date accessed: 25 nov. 2024.